การป้องกันโรคไต ทำอย่างไรให้ไตสตรอง?
เพราะโรคไต “เสี่ยงทุกวัย เป็นได้ทุกคน” ในแต่ละปีผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไตอักเสบ ไตขาดเลือด นิ่วในไต ภาวะโรคอ้วน เป็นต้น การป้องกันโรคไตจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรคไตเรื้อรัง คือ การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ทำให้มีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ขาบวมและกดบุ๋ม ความดันโลหิตสูง
ทำอย่างไรให้ไต...สตรอง
1. ผู้มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เช่น
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
- มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน
- ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต
- มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
5. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรควบคุมอาการของโรคอย่างใกล้ชิด
6. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น กลุ่มยาแก้อักเสบ ยาชุด เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C
เพราะโรคไต “เสี่ยงทุกวัย เป็นได้ทุกคน” ในแต่ละปีผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไตอักเสบ ไตขาดเลือด นิ่วในไต ภาวะโรคอ้วน เป็นต้น การป้องกันโรคไตจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรคไตเรื้อรัง คือ การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ทำให้มีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ขาบวมและกดบุ๋ม ความดันโลหิตสูง
ทำอย่างไรให้ไต...สตรอง
1. ผู้มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เช่น
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
- มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
- มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน
- ได้รับสารพิษหรือยาที่ทำลายไต
- มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
- มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
5. ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรควบคุมอาการของโรคอย่างใกล้ชิด
6. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เช่น กลุ่มยาแก้อักเสบ ยาชุด เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C