
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เพราะอะไรถึงเกิด?
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ พบมากในเพศชาย ช่วงอายุ 50 – 70 ปี เกิดจากเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก้อนเนื้อนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและต่อมน้ำเหลืองได้
สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และขับถ่ายออกทางกระเพาะปัสสาวะได้ การสูบบุหรี่จึงทำให้กระเพาะปัสสาวะสัมผัสกับสารก่อมะเร็งโดยตรง ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสีและสารเคมีที่มีส่วนประกอบของสารอะนีลีน (aniline) หรือไฮโดรคาร์บอน เช่น สีย้อมผ้า น้ำยาย้อมผม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและผู้บริโภคขัณฑสกร
นอกจากนี้ การระคายเคืองและการอักเสบเนื่องจากก้อนนิ่ว การใส่สายระบายน้ำปัสสาวะเป็นเวลานานต่อเนื่อง หรือการติดเชื้อพยาธิชนิดหนึ่งที่ชอบไข่อยู่ตามผนังในกระเพาะปัสสาวะจะกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุภายในทางเดินปัสสาวะ เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งขึ้น และผู้ที่เคยรักษามะเร็งอย่างอื่นด้วยวิธีการฉายแสงบริเวณเชิงกรานหรือด้วยเคมีบำบัดก็เป็นสาเหตุชักนำให้เกิดโรคนี้
อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
อาการที่น่าสงสัยและควรรีบพบแพทย์คือ ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้ารุนแรงอาจจะเป็นเลือดสดๆ ถ้าไม่รุนแรงอาจมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ บางรายอาจมีเพียงอาการปัสสาวะบ่อยและมีอาการปวดขณะเบ่งปัสสาวะ โดยปวดบริเวณท้องน้อยหรือปลายท่อปัสสาวะ ส่วนในระยะลุกลามจะมีอาการปวดท้องน้อยซึ่งไม่สัมพันธ์กับการถ่ายปัสสาวะ และเมื่อมะเร็งมีการลุกลามจนอุดตันของท่อไต ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของภาวะไตวาย เช่น คลื่นไส้อาเจียน น้ำปัสสาวะลดลง และปวดหลัง ซึ่งเกิดจากไตบวมได้
อาการที่พบ
เลือดในปัสสาวะ (Haematuria)
- เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
- โดยทั่วไปจะไม่เกิดอาการเจ็บปวด
- เลือดในปัสสาวะอาจมีปริมาณน้อยและปรากฏเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาล
- อาการเลือดออกอาจออก ๆ หาย ๆ หรือเกิดขึ้นเพียงครั้งหรือสองครั้ง
การเปลี่ยนแปลงนิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ
- อาจมีอาการแสบขณะปัสสาวะ (ทั้งขณะฉี่และเมื่อปัสสาวะออก)
- ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือมีความรู้สึกเร่งด่วน
- บางรายอาจไม่สามารถปัสสาวะได้ตามปกติเมื่อรู้สึกปวด
- มีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจจะเกิดจากโรคอย่างอื่นได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นไม่ควรวิตกกังวลเกินไป ควรพบแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน หลังจากแพทย์ซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว จะให้เก็บปัสสาวะตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อพบเม็ดเลือดหรือเซลล์มะเร็งปะปนอยู่ ควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องขนาดเล็กสอดผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปสำรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปการตรวจดูด้วยกล้องมักบอกได้ค่อนข้างแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แต่ในกรณีที่สงสัยแพทย์จะนำชิ้นเนื้อชิ้นเล็ก ๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน บางรายอาจมีความจำเป็นต้องตรวจด้วยการถ่ายภาพทางรังสีบริเวณกระเพาะปัสสาวะและช่องท้อง เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยทั่วไปแล้วการรักษาประกอบด้วย
- การรักษาโดยส่องกล้องผ่าตัดทางท่อปัสสาวะ โดยตัดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะออกได้หมด เพื่อให้การวินิจฉัยและเป็นการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะไม่ลุกลาม นอกจากนี้ยังมีการใส่ยาเคมีบำบัด หรือยาที่ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค หลังการตัดชิ้นเนื้ออีกด้วย
- ระยะลุกลามไปถึงผนังกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะข้างเคียง รักษาโดยการผ่าตัดเอากระเพาะปัสสาวะพร้อมกับอวัยวะข้างเคียงส่วนที่มีโรคลุกลามออกไปจนหมด และนำเอาบางส่วนของลำไส้มาดัดแปลงเป็นกระเพาะปัสสาวะให้ใหม่ ผู้ป่วยจะยังคงถ่ายปัสสาวะได้ปกติทางท่อปัสสาวะ แต่บางรายจำเป็นต้องมีปัสสาวะออกทางปลายลำไส้ที่นำมาเปิดออกทางหน้าท้อง โดยขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสภาวะการทำงานของไตของผู้ป่วย
- รักษาโดยการให้เคมีบำบัด และการใช้รังสีรักษา ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
วิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ก่อนนอน เพราะจะมีการคั่งค้างขอสารก่อมะเร็งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน
- หากปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมสี ยาง สายไฟฟ้า และพลาสติก ควรระวังขณะรับประทานอาหาร เพราะสีอาจติดมือปะปนอยู่ในอาหารได้ ฉะนั้นจึงควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งของระบบทางเดินปัสสาวะ พบมากในเพศชาย ช่วงอายุ 50 – 70 ปี เกิดจากเยื่อบุภายในกระเพาะปัสสาวะมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ จนกลายเป็นก้อนเนื้อขึ้นมา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก้อนเนื้อนี้สามารถเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและต่อมน้ำเหลืองได้
สาเหตุของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ การสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และขับถ่ายออกทางกระเพาะปัสสาวะได้ การสูบบุหรี่จึงทำให้กระเพาะปัสสาวะสัมผัสกับสารก่อมะเร็งโดยตรง ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสีและสารเคมีที่มีส่วนประกอบของสารอะนีลีน (aniline) หรือไฮโดรคาร์บอน เช่น สีย้อมผ้า น้ำยาย้อมผม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและผู้บริโภคขัณฑสกร
นอกจากนี้ การระคายเคืองและการอักเสบเนื่องจากก้อนนิ่ว การใส่สายระบายน้ำปัสสาวะเป็นเวลานานต่อเนื่อง หรือการติดเชื้อพยาธิชนิดหนึ่งที่ชอบไข่อยู่ตามผนังในกระเพาะปัสสาวะจะกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุภายในทางเดินปัสสาวะ เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งขึ้น และผู้ที่เคยรักษามะเร็งอย่างอื่นด้วยวิธีการฉายแสงบริเวณเชิงกรานหรือด้วยเคมีบำบัดก็เป็นสาเหตุชักนำให้เกิดโรคนี้
อาการของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
อาการที่น่าสงสัยและควรรีบพบแพทย์คือ ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้ารุนแรงอาจจะเป็นเลือดสดๆ ถ้าไม่รุนแรงอาจมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ บางรายอาจมีเพียงอาการปัสสาวะบ่อยและมีอาการปวดขณะเบ่งปัสสาวะ โดยปวดบริเวณท้องน้อยหรือปลายท่อปัสสาวะ ส่วนในระยะลุกลามจะมีอาการปวดท้องน้อยซึ่งไม่สัมพันธ์กับการถ่ายปัสสาวะ และเมื่อมะเร็งมีการลุกลามจนอุดตันของท่อไต ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของภาวะไตวาย เช่น คลื่นไส้อาเจียน น้ำปัสสาวะลดลง และปวดหลัง ซึ่งเกิดจากไตบวมได้
อาการที่พบ
เลือดในปัสสาวะ (Haematuria)
- เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
- โดยทั่วไปจะไม่เกิดอาการเจ็บปวด
- เลือดในปัสสาวะอาจมีปริมาณน้อยและปรากฏเป็นสีแดงหรือสีน้ำตาล
- อาการเลือดออกอาจออก ๆ หาย ๆ หรือเกิดขึ้นเพียงครั้งหรือสองครั้ง
การเปลี่ยนแปลงนิสัยการขับถ่ายปัสสาวะ
- อาจมีอาการแสบขณะปัสสาวะ (ทั้งขณะฉี่และเมื่อปัสสาวะออก)
- ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือมีความรู้สึกเร่งด่วน
- บางรายอาจไม่สามารถปัสสาวะได้ตามปกติเมื่อรู้สึกปวด
- มีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะ
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจจะเกิดจากโรคอย่างอื่นได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นไม่ควรวิตกกังวลเกินไป ควรพบแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน หลังจากแพทย์ซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว จะให้เก็บปัสสาวะตรวจทางห้องปฏิบัติการ เมื่อพบเม็ดเลือดหรือเซลล์มะเร็งปะปนอยู่ ควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องขนาดเล็กสอดผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปสำรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ โดยทั่วไปการตรวจดูด้วยกล้องมักบอกได้ค่อนข้างแน่ชัดว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ แต่ในกรณีที่สงสัยแพทย์จะนำชิ้นเนื้อชิ้นเล็ก ๆ ไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยัน บางรายอาจมีความจำเป็นต้องตรวจด้วยการถ่ายภาพทางรังสีบริเวณกระเพาะปัสสาวะและช่องท้อง เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น
การรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยทั่วไปแล้วการรักษาประกอบด้วย
- การรักษาโดยส่องกล้องผ่าตัดทางท่อปัสสาวะ โดยตัดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะออกได้หมด เพื่อให้การวินิจฉัยและเป็นการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะไม่ลุกลาม นอกจากนี้ยังมีการใส่ยาเคมีบำบัด หรือยาที่ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค หลังการตัดชิ้นเนื้ออีกด้วย
- ระยะลุกลามไปถึงผนังกระเพาะปัสสาวะและอวัยวะข้างเคียง รักษาโดยการผ่าตัดเอากระเพาะปัสสาวะพร้อมกับอวัยวะข้างเคียงส่วนที่มีโรคลุกลามออกไปจนหมด และนำเอาบางส่วนของลำไส้มาดัดแปลงเป็นกระเพาะปัสสาวะให้ใหม่ ผู้ป่วยจะยังคงถ่ายปัสสาวะได้ปกติทางท่อปัสสาวะ แต่บางรายจำเป็นต้องมีปัสสาวะออกทางปลายลำไส้ที่นำมาเปิดออกทางหน้าท้อง โดยขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสภาวะการทำงานของไตของผู้ป่วย
- รักษาโดยการให้เคมีบำบัด และการใช้รังสีรักษา ขึ้นอยู่กับระยะของโรค
วิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ก่อนนอน เพราะจะมีการคั่งค้างขอสารก่อมะเร็งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน
- หากปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมสี ยาง สายไฟฟ้า และพลาสติก ควรระวังขณะรับประทานอาหาร เพราะสีอาจติดมือปะปนอยู่ในอาหารได้ ฉะนั้นจึงควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A