ภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะความผิดปกติของการทำงานของหัวใจที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการแม้ในขณะพัก รวมถึงไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ
สาเหตุการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีผลทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคของหลอดเลือดโคโรนารีสามารถทำให้เกิดภาวะนี้ โดยมีสาเหตุสำคัญคือ โรคหลอดเลือดโคโรนารีตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวที่สำคัญ ประกอบด้วย
- หอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ
- เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ (ในผู้ป่วยบางราย)
- ขาบวม กดบุ๋มทั้งสองข้าง
- มีการโป่งพองของเส้นเลือดดำที่คอ
- ฟังได้เสียงกรอบแกรบ (crepitation) ที่ชายปอดทั้งสองข้าง
- คลำพบตับโต
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการไม่ใช่โรค ดังนั้นการพิจารณาในการรักษาจึงต้องให้การรักษาทั้งเพื่อลดอาการ และรักษาโรคที่เป็นสาเหตุควบคู่กันไป โดยมีเป้าหมายสำคัญในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว คือ การทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยลดอาการแทรกซ้อน ชะลอความก้าวหน้าของโรค และลดอัตราการเสียชีวิตและการเข้านอนโรงพยาบาล
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
1. การรักษาด้วยยา มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการตาย เพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดภาระการทำงานของหัวใจ ป้องกันและชะลอการเสื่อมของหัวใจ ลดอาการรุนแรง ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวประกอบด้วย กลุ่มยาขับปัสสาวะ กลุ่มยายับยั้งเอ็นไซน์แองจิโอเทนซิน กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า กลุ่มยา mineracocorticoid antagonist และกลุ่มยา SGLT2 inhibitor เป็นต้น
2. การรักษาด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิด cardiac resynchronization therapy (CRT) หรืออุปกรณ์อื่นตามข้อบ่งชี้ เพื่อลดภาระการทำงานของหัวใจและเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
3. การรักษาด้วยการผ่าตัด (cardiac surgery) หรือการทำหัตถการทางหลอดเลือด (transcatheter intervention) อาทิเช่น การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการสวนขยายหลอดเลือดโดยใช้บอลลูน เมื่อพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้น การแก้ไขลิ้นหัวใจพิการหรือภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ โดยจะทำการผ่าตัดเมื่อหัวใจมีการทำลายจนไม่สามารถกลับคืนมาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือการบำบัดอื่นๆ หรือมีข้อบ่งชี้ว่าระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระยะสุดท้าย
4. การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต สำคัญมากในผู้ป่วยทุกราย เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและป้องกันการกำเริบของโรค ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับความรู้และคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ดังนี้
- ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดตัว การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการนำออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสเค็มและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม (sodium) ในปริมาณมากเกินไป โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในอาหารตามธรรมชาติ เช่น ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ มีมากในเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรม ผงชูรส และมีในอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารหมักดอง เป็นต้น ปริมาณโซเดียมที่แนะนำคือน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ข้อมูลโดย : อ. พญ. ศรีสกุล จิรกาญจนากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะความผิดปกติของการทำงานของหัวใจที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการแม้ในขณะพัก รวมถึงไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ
สาเหตุการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีผลทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหรือรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคของหลอดเลือดโคโรนารีสามารถทำให้เกิดภาวะนี้ โดยมีสาเหตุสำคัญคือ โรคหลอดเลือดโคโรนารีตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
อาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวที่สำคัญ ประกอบด้วย
- หอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ
- เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ (ในผู้ป่วยบางราย)
- ขาบวม กดบุ๋มทั้งสองข้าง
- มีการโป่งพองของเส้นเลือดดำที่คอ
- ฟังได้เสียงกรอบแกรบ (crepitation) ที่ชายปอดทั้งสองข้าง
- คลำพบตับโต
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการไม่ใช่โรค ดังนั้นการพิจารณาในการรักษาจึงต้องให้การรักษาทั้งเพื่อลดอาการ และรักษาโรคที่เป็นสาเหตุควบคู่กันไป โดยมีเป้าหมายสำคัญในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว คือ การทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยลดอาการแทรกซ้อน ชะลอความก้าวหน้าของโรค และลดอัตราการเสียชีวิตและการเข้านอนโรงพยาบาล
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
1. การรักษาด้วยยา มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการตาย เพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดภาระการทำงานของหัวใจ ป้องกันและชะลอการเสื่อมของหัวใจ ลดอาการรุนแรง ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวประกอบด้วย กลุ่มยาขับปัสสาวะ กลุ่มยายับยั้งเอ็นไซน์แองจิโอเทนซิน กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า กลุ่มยา mineracocorticoid antagonist และกลุ่มยา SGLT2 inhibitor เป็นต้น
2. การรักษาด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิด cardiac resynchronization therapy (CRT) หรืออุปกรณ์อื่นตามข้อบ่งชี้ เพื่อลดภาระการทำงานของหัวใจและเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ
3. การรักษาด้วยการผ่าตัด (cardiac surgery) หรือการทำหัตถการทางหลอดเลือด (transcatheter intervention) อาทิเช่น การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการสวนขยายหลอดเลือดโดยใช้บอลลูน เมื่อพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้น การแก้ไขลิ้นหัวใจพิการหรือภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ โดยจะทำการผ่าตัดเมื่อหัวใจมีการทำลายจนไม่สามารถกลับคืนมาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือการบำบัดอื่นๆ หรือมีข้อบ่งชี้ว่าระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระยะสุดท้าย
4. การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต สำคัญมากในผู้ป่วยทุกราย เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและป้องกันการกำเริบของโรค ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับความรู้และคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ดังนี้
- ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดตัว การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการนำออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารรสเค็มและอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียม (sodium) ในปริมาณมากเกินไป โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในอาหารตามธรรมชาติ เช่น ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ มีมากในเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรม ผงชูรส และมีในอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารหมักดอง เป็นต้น ปริมาณโซเดียมที่แนะนำคือน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ข้อมูลโดย : อ. พญ. ศรีสกุล จิรกาญจนากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C