อย่าให้ลำไส้แปรปรวน รบกวนชีวิตคุณ

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

ลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะการทำงานของลำไส้ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้องร่วมกับการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป โดยอาจเปลี่ยนที่ความถี่ หรือลักษณะของอุจจาระ โรคนี้มักเรื้อรั้งโดยอาการอาจเป็นๆ หายๆ ซึ่งแม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

การวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน

อาการปวดท้องอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วง 3 เดือนก่อนวินิจฉัย ทั้งนี้อาการปวดท้องจะพบร่วมกับอย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อดังต่อไปนี้

1. อาการปวดท้องสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระ เช่น อาการปวดท้องก่อนถ่ายอุจจาระหรือเมื่อถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วก็ยังมีอาการปวดท้อง

2. อาการปวดท้องเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของความถี่ของการถ่ายอุจจาระ เช่น ปกติเคยถ่ายวันละ 1 ครั้งแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น 2-3 วันถ่าย 1 ครั้ง

3. อาการปวดท้องเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอุจจาระ โดยควรมีอาการดังกล่าวข้างต้น อย่างน้อย 6 เดือนก่อนการวินิจฉัย และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือนก่อนวินิจฉัย

สาเหตุ

ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของการเกิดภาวะลำไส้แปรปรวนได้แน่ชัด แต่เป็นจากหลายปัจจัยร่วมกันหลายประการ โดยอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. ปัจจัยส่วนบุคคล

   1.1 พันธุกรรม แม้ไม่ได้มีการถ่ายทอดที่ชัดเจนแต่พบว่าญาติของผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนมีโอกาสเกิดลำไส้แปรปรวนได้ถึง 2-3 เท่า

   1.2 ปัจจัยทางด้านจิตใจเป็นอีกปัจจัยที่เป็นตัวส่งเสริมให้อาการรุนแรงขึ้น ในขณะเดียวกัน อาการที่มากขึ้นก็ทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล และความเครียดมากขึ้นเช่นกัน

   1.3 การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของผู้ป่วยลำไส้แปรปรวน มีชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์แตกต่างจากคนปกติทั้งนี้อาจเนื่องจากความซับซ้อนทางนิเวศน์วิทยาของจุลินทรีย์

2. ปัจจัยแวดล้อม

    2.1 อาหาร มีผลต่อการเกิดอาการในทางเดินอาหารรวมถึงการเกิดลำไส้แปรปรวน ในผู้ป่วยบางรายต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น

    2.2 การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้แปรปรวนตามหลังการติดเชื้อเป็นภาวะที่มีอาการปวดท้องและท้องเสียต่อเนื่อง ตามหลังการเกิดภาวะท้องเสียจากการติดเชื้อเฉียบพลัน

#ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ลำไส้แปรปรวน #การทำงานของลำไส้ผิดปกติ #ปวดท้อง #ขับถ่ายไม่ปกติ #ถ่ายเป็นเลือด #คลำเจอก้อนในท้อง #ถ่ายเป็นสีดำ #น้ำหนักลด #คลื่นไส้ #อาเจียน #IBS

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นลำไส้แปรปรวน

ลำไส้แปรปรวนมักจะมีการทำงานที่ผิดปกติไปของทางเดินอาหารเพียงอย่างเดียว ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โลหิตจาง คลำได้ก้อนในท้อง ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือดสดๆ น้ำหนักลด มีไข้ มีอาการอาเจียนคลื่นไส้อย่างรุนแรง แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด ทำให้สามารถเลือกการสืบค้นได้อย่างเหมาะสม และแพทย์ก็จะมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์ ส่องกล้องเพื่อหาสาเหตุ

การรักษา เมื่อคุณหมอสรุปว่าคุณเป็นลำไส้แปรปรวน

เนื่องจากลำไส้แปรปรวนมีอาการได้หลากหลาย และมีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไปการรักษาจึงมีมากมายเช่นกัน โดยอาจแบ่งเป็น 2 หลักใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1. การรักษาทั่วไป

   1.1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเป็นเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มสุราและสูบบุหรี่

   1.2 หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่ม Fermentable Oligo- Di- Monosaccharides And PolyolS; FODMAF คือกลุ่มอาหารที่มีองค์ประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่รวมหลากชนิดเป็นกลุ่มที่ส่งเสริมให้แบคทีเรียในลำไส้เจริญเติบโต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน

อาหารกลุ่มนี้ได้แก่
  • อาหารกลุ่มที่มีน้ำตาล Fructose เช่น ผลไม้ น้ำผึ้ง ไซรัปจากข้าวโพด
  • อาหารกลุ่มที่มี Lactose ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • อาหารกลุ่มที่มี Fructans หรือ Inulin ได้แก่ ข้าวสาลี หัวหอม กระเทียม
  • อาหารกลุ่ม Galactans ได้แก่ อาหารจำพวกถั่วชนิดต่างๆ
  • อาหารกลุ่ม Polyols อันได้แก่สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น Sorbitol, Xylitol, ผลไม้ที่มีเมล็ดแข็งตรงกลาง เช่น พีช, พลัม, เนคทารีน, อะโวคาโด, เชอร์รี

    1.3 Probiotics หรือแบคทีเรียชนิดดี แม้หลักฐานของการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้กับการเกิดลำไส้แปรปรวนยังไม่ชัดเจน แต่พบว่าปัจจุบันมีการนำ Probiotics มาใช้ในการรักษาลำไส้แปรปรวน เพราะ Probiotics มีสรรพคุณสร้างสมดุลให้กับลำไส้ ลดการอักเสบ ทำให้การขับถ่ายกลับมาเป็นปกติ

2. การรักษาจำเพาะ

2.1 ยาลดอาการปวด

     - ยาต้านการบีบเกร็ง (anti-spasrnolic agents) เช่น cinteropium/dicyclomine, peppermint oil, pinaverium และ trimebutine

     - ยาต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressant)

2.2 ยาที่ออกฤทธิ์ที่ซีโรโทนินรีเซปเตอร์ หรือ 5-HT3 receptor antagonists ได้แก่ Alosetron, rarmosetron และ ondansetron ช่วยลดอาการปวดท้อง ทำให้การขับถ่ายและลักษณะอุจจาระดีขึ้น

2.3 ยารักษาผู้ป่วย IBSC (กลุ่มอาการท้องผูก)

     - ยาที่ออกฤทธิ์ที่คลอไรด์แชนแนล หรือ CI-C2 chanwat yorist คือ \bigor Estone ช่วยลดความรุนแรงของอาการท้องผูกอุจจาระนิมขึ้น ลดอาการปวดท้อง

     - ยากลุ่ม guarylate Cyclass C receptor agonist หรือ linaclotide ในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนชนิดท้องเสียเต่นได้ผลค่อนข้างดี แต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

     - ยาระบาย (laxatives) ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาระบายได้ผลไม่เป็นที่พึงพอใจนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

คำถาม - คำตอบ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

ลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะการทำงานของลำไส้ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้องร่วมกับการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป โดยอาจเปลี่ยนที่ความถี่ หรือลักษณะของอุจจาระ โรคนี้มักเรื้อรั้งโดยอาการอาจเป็นๆ หายๆ ซึ่งแม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรงแต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

การวินิจฉัยลำไส้แปรปรวน

อาการปวดท้องอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วง 3 เดือนก่อนวินิจฉัย ทั้งนี้อาการปวดท้องจะพบร่วมกับอย่างน้อย 2 ใน 3 ข้อดังต่อไปนี้

1. อาการปวดท้องสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระ เช่น อาการปวดท้องก่อนถ่ายอุจจาระหรือเมื่อถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วก็ยังมีอาการปวดท้อง

2. อาการปวดท้องเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของความถี่ของการถ่ายอุจจาระ เช่น ปกติเคยถ่ายวันละ 1 ครั้งแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็น 2-3 วันถ่าย 1 ครั้ง

3. อาการปวดท้องเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอุจจาระ โดยควรมีอาการดังกล่าวข้างต้น อย่างน้อย 6 เดือนก่อนการวินิจฉัย และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือนก่อนวินิจฉัย

สาเหตุ

ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของการเกิดภาวะลำไส้แปรปรวนได้แน่ชัด แต่เป็นจากหลายปัจจัยร่วมกันหลายประการ โดยอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. ปัจจัยส่วนบุคคล

   1.1 พันธุกรรม แม้ไม่ได้มีการถ่ายทอดที่ชัดเจนแต่พบว่าญาติของผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนมีโอกาสเกิดลำไส้แปรปรวนได้ถึง 2-3 เท่า

   1.2 ปัจจัยทางด้านจิตใจเป็นอีกปัจจัยที่เป็นตัวส่งเสริมให้อาการรุนแรงขึ้น ในขณะเดียวกัน อาการที่มากขึ้นก็ทำให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล และความเครียดมากขึ้นเช่นกัน

   1.3 การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของผู้ป่วยลำไส้แปรปรวน มีชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์แตกต่างจากคนปกติทั้งนี้อาจเนื่องจากความซับซ้อนทางนิเวศน์วิทยาของจุลินทรีย์

2. ปัจจัยแวดล้อม

    2.1 อาหาร มีผลต่อการเกิดอาการในทางเดินอาหารรวมถึงการเกิดลำไส้แปรปรวน ในผู้ป่วยบางรายต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น

    2.2 การติดเชื้อในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้แปรปรวนตามหลังการติดเชื้อเป็นภาวะที่มีอาการปวดท้องและท้องเสียต่อเนื่อง ตามหลังการเกิดภาวะท้องเสียจากการติดเชื้อเฉียบพลัน

#ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ #โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ #ลำไส้แปรปรวน #การทำงานของลำไส้ผิดปกติ #ปวดท้อง #ขับถ่ายไม่ปกติ #ถ่ายเป็นเลือด #คลำเจอก้อนในท้อง #ถ่ายเป็นสีดำ #น้ำหนักลด #คลื่นไส้ #อาเจียน #IBS

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นลำไส้แปรปรวน

ลำไส้แปรปรวนมักจะมีการทำงานที่ผิดปกติไปของทางเดินอาหารเพียงอย่างเดียว ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โลหิตจาง คลำได้ก้อนในท้อง ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือดสดๆ น้ำหนักลด มีไข้ มีอาการอาเจียนคลื่นไส้อย่างรุนแรง แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด ทำให้สามารถเลือกการสืบค้นได้อย่างเหมาะสม และแพทย์ก็จะมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด เอกซเรย์ ส่องกล้องเพื่อหาสาเหตุ

การรักษา เมื่อคุณหมอสรุปว่าคุณเป็นลำไส้แปรปรวน

เนื่องจากลำไส้แปรปรวนมีอาการได้หลากหลาย และมีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไปการรักษาจึงมีมากมายเช่นกัน โดยอาจแบ่งเป็น 2 หลักใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

1. การรักษาทั่วไป

   1.1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเป็นเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มสุราและสูบบุหรี่

   1.2 หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่ม Fermentable Oligo- Di- Monosaccharides And PolyolS; FODMAF คือกลุ่มอาหารที่มีองค์ประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่รวมหลากชนิดเป็นกลุ่มที่ส่งเสริมให้แบคทีเรียในลำไส้เจริญเติบโต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน

อาหารกลุ่มนี้ได้แก่
  • อาหารกลุ่มที่มีน้ำตาล Fructose เช่น ผลไม้ น้ำผึ้ง ไซรัปจากข้าวโพด
  • อาหารกลุ่มที่มี Lactose ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • อาหารกลุ่มที่มี Fructans หรือ Inulin ได้แก่ ข้าวสาลี หัวหอม กระเทียม
  • อาหารกลุ่ม Galactans ได้แก่ อาหารจำพวกถั่วชนิดต่างๆ
  • อาหารกลุ่ม Polyols อันได้แก่สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น Sorbitol, Xylitol, ผลไม้ที่มีเมล็ดแข็งตรงกลาง เช่น พีช, พลัม, เนคทารีน, อะโวคาโด, เชอร์รี

    1.3 Probiotics หรือแบคทีเรียชนิดดี แม้หลักฐานของการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้กับการเกิดลำไส้แปรปรวนยังไม่ชัดเจน แต่พบว่าปัจจุบันมีการนำ Probiotics มาใช้ในการรักษาลำไส้แปรปรวน เพราะ Probiotics มีสรรพคุณสร้างสมดุลให้กับลำไส้ ลดการอักเสบ ทำให้การขับถ่ายกลับมาเป็นปกติ

2. การรักษาจำเพาะ

2.1 ยาลดอาการปวด

     - ยาต้านการบีบเกร็ง (anti-spasrnolic agents) เช่น cinteropium/dicyclomine, peppermint oil, pinaverium และ trimebutine

     - ยาต้านอาการซึมเศร้า (Antidepressant)

2.2 ยาที่ออกฤทธิ์ที่ซีโรโทนินรีเซปเตอร์ หรือ 5-HT3 receptor antagonists ได้แก่ Alosetron, rarmosetron และ ondansetron ช่วยลดอาการปวดท้อง ทำให้การขับถ่ายและลักษณะอุจจาระดีขึ้น

2.3 ยารักษาผู้ป่วย IBSC (กลุ่มอาการท้องผูก)

     - ยาที่ออกฤทธิ์ที่คลอไรด์แชนแนล หรือ CI-C2 chanwat yorist คือ \bigor Estone ช่วยลดความรุนแรงของอาการท้องผูกอุจจาระนิมขึ้น ลดอาการปวดท้อง

     - ยากลุ่ม guarylate Cyclass C receptor agonist หรือ linaclotide ในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนชนิดท้องเสียเต่นได้ผลค่อนข้างดี แต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

     - ยาระบาย (laxatives) ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาระบายได้ผลไม่เป็นที่พึงพอใจนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง