มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้เร็ว รักษาหาย

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ Lymphoma เป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 2 ประเภท 

1.  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)  มีลักษณะเฉพาะ คือ จะพบ Reed-Sternberg cell ซึ่งไม่มีในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ประมาณ 25,000 คน

2.  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน  (Non-Hodgkin Lymphoma) แบ่งออกเป็น 30 ชนิดย่อย โดยอาศัยอัตราการเจริญของเซลล์มะเร็ง จะสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

     2.1 ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) มีการแบ่งตัวเซลล์มะเร็งค่อนข้างช้า ผู้ป่วยมักมีอาการค่อยเป็นค่อยไป 

     2.2 ชนิดรุนแรง (Aggressive) มีอัตราการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตภายใน 6 เดือน - 12 ปี หากรู้เร็วและรักษาได้ทันก็มีโอกาสที่จะหายขาดอยู่มาก

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • พบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือเต้านม โดยที่ก้อนเหล่านั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักจะมีอาการเจ็บที่ก้อน
  • มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน หรือคันทั่วร่างกาย
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต
  • ปวดศีรษะ (มักพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)

อาการระยะลุกลามของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • ซีด มีเลือดออกง่าย เช่น จุดเลือดออกตามตัว หรือจ้ำเลือด
  • ในบางรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะมีอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้นจากการมีน้ำหรือก้อนในช่องท้อง

หมายเหตุ : ต่อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด เส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือปวดตามแขน-ขาได้

การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

1. การเฝ้าติดตามโรค ใช้ในกรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไปบางราย และในระหว่างการเฝ้าติดตามโรคผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะ ๆ ตามแพทย์สั่ง

2. การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งจะออกฤทธิ์ไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งแพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดของยาเคมีบำบัด โดยทั่วไปจะใช้หลายขนานร่วมกัน หรืออาจรักษาร่วมกับแอนติบอดี้(Monoclonal Antibodies)

3. การใช้แแอนติบอดี้ (Monoclonal Antibodies) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ในการจับกับโปรตีนบนผิวของเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็ง ซึ่งช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ในบริเวณกว้าง และส่งผลกระทบเพียงน้อยนิดต่อเนื้อเยื่อปกติ

4. การฉายรังสี (Radiation Therapy) คือการรักษาด้วยรังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

5. การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Transplantation) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ การปลูกถ่ายโดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค หรือการปลูกถ่ายโดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง โดยแพทย์จะพิจารณาจากชนิดและระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง  

     วิทยาการการรักษาในปัจจุบัน ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายขาดได้ ถ้าหากเป็นระยะเริ่มแรก และได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน รวมถึงร่างกายมีการตอบสนองดี จะสามารถหยุดการรักษาได้เกินกว่า 5 ปี เพราะโดยปกติ ผู้ป่วยจะเข้าใจว่าหายขาดเมื่อได้รับการรักษาอย่างครบถ้วนแล้ว

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย  ซึ่งจะมีผลโดยรวมต่อร่างกายในการช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานดีขึ้น 

2. รับประทานอาหารที่เหมาะสมที่มีลักษณะ ดังนี้

     - อาหารสุก สะอาด อุณหภูมิไม่สูงเกินไป

     - อาหารอ่อนนุ่ม ง่ายต่อการเคี้ยวและกลืน

     - อาหารที่ให้สารอาหาร พลังงาน และเส้นใยสูง สามารถรับประทานได้ แต่ควรระวังผักสด ควรล้างให้สะอาด ส่วนผลไม้ ควรเลือกรับประทานชนิดที่ต้องปอกเปลือกเพื่อป้องกันสารตกค้างบริเวณเปลือก 

ข้อมูลจาก : พญ. สินี สุขพันธ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ Lymphoma เป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 2 ประเภท 

1.  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)  มีลักษณะเฉพาะ คือ จะพบ Reed-Sternberg cell ซึ่งไม่มีในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ประมาณ 25,000 คน

2.  มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน  (Non-Hodgkin Lymphoma) แบ่งออกเป็น 30 ชนิดย่อย โดยอาศัยอัตราการเจริญของเซลล์มะเร็ง จะสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ

     2.1 ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) มีการแบ่งตัวเซลล์มะเร็งค่อนข้างช้า ผู้ป่วยมักมีอาการค่อยเป็นค่อยไป 

     2.2 ชนิดรุนแรง (Aggressive) มีอัตราการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตภายใน 6 เดือน - 12 ปี หากรู้เร็วและรักษาได้ทันก็มีโอกาสที่จะหายขาดอยู่มาก

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • พบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือเต้านม โดยที่ก้อนเหล่านั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักจะมีอาการเจ็บที่ก้อน
  • มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน หรือคันทั่วร่างกาย
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต
  • ปวดศีรษะ (มักพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)

อาการระยะลุกลามของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • ซีด มีเลือดออกง่าย เช่น จุดเลือดออกตามตัว หรือจ้ำเลือด
  • ในบางรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะมีอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้นจากการมีน้ำหรือก้อนในช่องท้อง

หมายเหตุ : ต่อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด เส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือปวดตามแขน-ขาได้

การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

1. การเฝ้าติดตามโรค ใช้ในกรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไปบางราย และในระหว่างการเฝ้าติดตามโรคผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะ ๆ ตามแพทย์สั่ง

2. การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งจะออกฤทธิ์ไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งแพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดของยาเคมีบำบัด โดยทั่วไปจะใช้หลายขนานร่วมกัน หรืออาจรักษาร่วมกับแอนติบอดี้(Monoclonal Antibodies)

3. การใช้แแอนติบอดี้ (Monoclonal Antibodies) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ในการจับกับโปรตีนบนผิวของเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็ง ซึ่งช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ในบริเวณกว้าง และส่งผลกระทบเพียงน้อยนิดต่อเนื้อเยื่อปกติ

4. การฉายรังสี (Radiation Therapy) คือการรักษาด้วยรังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

5. การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Transplantation) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ การปลูกถ่ายโดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค หรือการปลูกถ่ายโดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง โดยแพทย์จะพิจารณาจากชนิดและระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง  

     วิทยาการการรักษาในปัจจุบัน ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายขาดได้ ถ้าหากเป็นระยะเริ่มแรก และได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน รวมถึงร่างกายมีการตอบสนองดี จะสามารถหยุดการรักษาได้เกินกว่า 5 ปี เพราะโดยปกติ ผู้ป่วยจะเข้าใจว่าหายขาดเมื่อได้รับการรักษาอย่างครบถ้วนแล้ว

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย  ซึ่งจะมีผลโดยรวมต่อร่างกายในการช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานดีขึ้น 

2. รับประทานอาหารที่เหมาะสมที่มีลักษณะ ดังนี้

     - อาหารสุก สะอาด อุณหภูมิไม่สูงเกินไป

     - อาหารอ่อนนุ่ม ง่ายต่อการเคี้ยวและกลืน

     - อาหารที่ให้สารอาหาร พลังงาน และเส้นใยสูง สามารถรับประทานได้ แต่ควรระวังผักสด ควรล้างให้สะอาด ส่วนผลไม้ ควรเลือกรับประทานชนิดที่ต้องปอกเปลือกเพื่อป้องกันสารตกค้างบริเวณเปลือก 

ข้อมูลจาก : พญ. สินี สุขพันธ์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง