รักษาใจ.. แบบไม่ต้องเปิดอก! ด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจเอออร์ติก ทำให้กลีบของลิ้นหัวใจแข็งตัวและไม่สามารถเปิดและปิดได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ช่องเปิดดังกล่าวมีขนาดเล็กลง การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจึงทำได้ยากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยและหายใจลำบาก โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบเป็นความเจ็บป่วยร้ายแรงที่ทำให้หัวใจอ่อนกำลัง สุขภาพทรุดโทรม และส่งผลต่อความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้สูงอายุ

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

  • ความผิดปกติแต่กำเนิด
  • มีการสะสมของแคลเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบในเลือด
  • ไข้รูมาติก
  • รังสีรักษา

การตรวจติดตามโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการตรวจ “Echocardiogram” ซึ่งเป็นการถ่ายภาพหัวใจโดยไม่มีการสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกาย เพื่อแสดงให้เห็นขนาดของลิ้นหัวใจเอออร์ติกและวัดความเร็วของเลือดที่ไหลผ่านลิ้นหัวใจ รวมถึงความดันจากทั้งสองฝั่ง การตรวจจะระบุว่ามีระดับความรุนแรงของโรคในระดับเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง

 

การติดต่อแพทย์ระหว่างการตรวจแต่ละครั้งเป็นเรื่องสำคัญ โดยแจ้งถึงอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรืออาการใดก็ตามที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน รวมทั้งติดตามการลุกลามของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

อาการของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

“ผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบถึง 1 ใน 3 ทราบว่ามีอาการเมื่อได้รับการประเมินเพิ่มเติมแล้วเท่านั้น”

ผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอาจรายงานว่าไม่มีอาการใดๆ แต่หลังจากตรวจโดยละเอียดแล้วถึงได้ทราบว่าตนมีอาการ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพูดคุยกับแพทย์เรื่องอาการของคุณ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกิจวัตรประจำวัน

อาการ

  • เหนื่อยล้า หรืออ่อนเพลียอย่างรุนแรง
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายเมื่อเดินในระยะทางสั้นๆ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ข้อเท้าและเท้าบวม
  • เวียนศรีษะหรือวิงเวียนคล้ายจะเป็นลม
  • นอนหลับยาก
  • หน้ามืด

อาการแสดง

  • หัวใจเต้นมีเสียงฟู่ของหัวใจ
  • ไอแห้ง ๆ

ทางเลือกการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรง

วิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงคือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งสามารถทำได้โดยหัตถการการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (transcatheter aortic valve replacement, TAVI) ซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและสุขภาพโดยรวมจะเป็นตัวกำหนดว่าทางเลือกการรักษาใดเหมาะสมที่สุด

ประโยชน์ของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน

  • คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  • อาการทุเลาลง
  • เจ็บน้อยลงและลดความกังวล
  • ลดหัตถการรุกล้ำ โอกาสเกิดแผลเป็นน้อย
  • ระยะเวลาฟื้นตัวสั้น กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว
  • ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น

การประเมินทางเลือกการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน

ทีมแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน จะประเมินโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยและส่งต่อมาทีมแพทย์ ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ โดยจะร่วมกันพิจารณาผู้ป่วยแต่ละคนจากปัจจัยที่มี

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) เป็นการตรวจที่ถ่ายภาพหัวใจโดยไม่มีการสอดใส่วัตถุใดๆ เข้าไปในหัวใจ
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA) เพื่อดูโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
  • การสวนหัวใจ แสดงให้เห็นความดันโลหิตและการไหลเวียนของเลือด
  • เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจดูขนาดของหัวใจและทรวงอก

ในบางกรณีคุณอาจเคยผ่านการตรวจข้างต้นมาแล้ว การประเมินเหล่านี้ช่วยให้แพทย์ที่ทำหัตถการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน สามารถวางแผนการรักษาตามผลการประเมินล่าสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเพราะแพทย์ที่ทำการรักษา ต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้แนะนำทางรักษาที่ดีที่สุด

สิ่งที่คาดหวังจากหัตถการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน

1. ก่อนทำหัตถการ

  • ทำความสะอาดช่องปาก เนื่องจากการติดเชื้อในช่องปากหรือฟัน สามารถแพร่กระจายและก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้ ดังนั้นการให้ทันตแพทย์ตรวจและเตรียมช่องปากก่อนทำหัตถการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจจึงมีความสำคัญ
  • ให้ข้อมูลและคำแนะนำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับหัตถการ ความวิตกกังวลอาจเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ แพทย์จะเป็นผู้แจ้งและทบทวนเรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและตอบคำถามหรือข้อข้อสงสัยต่างๆ

2. ระหว่างทำหัตถการ

  • ได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนทำหัตถการ แพทย์จะผ่าตัดผิวหนังบริเวณขาขนาดเล็กแล้วสอดท่อขนาดเล็กเล็ก เรียกว่าสายส่วนเข้าทางหลอดเลือดแดง จากนั้นแพทย์จะนำสายสวนที่มีลิ้นหัวใจใหม่อยู่บนบอลลูนใส่ไปถึงหัวใจ แพทย์จะขยายขนาดของบอลลูนให้พองขึ้นเพื่อขยายลิ้นหัวใจใหม่พร้อมดันลิ้นหัวใจเดิมออกไปด้านข้าง ซึ่งลิ้นหัวใจใหม่จะเกาะกับเนื้อเยื่อที่มีการสะสมแคลเซียมของกลีบลิ้นหัวใจเดิมที่เป็นโรคยึดติดอยู่กับที่แล้วเริ่มทำงานทันที

3. หลังทำหัตถการ

  • ระยะเวลาในการฟื้นตัวและระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน มักใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปิดหัวใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ. นพ.ณัฐวุฒิ วงษ์ประภารัตน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับลิ้นหัวใจเอออร์ติก ทำให้กลีบของลิ้นหัวใจแข็งตัวและไม่สามารถเปิดและปิดได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ช่องเปิดดังกล่าวมีขนาดเล็กลง การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจึงทำได้ยากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยและหายใจลำบาก โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบเป็นความเจ็บป่วยร้ายแรงที่ทำให้หัวใจอ่อนกำลัง สุขภาพทรุดโทรม และส่งผลต่อความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้สูงอายุ

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

  • ความผิดปกติแต่กำเนิด
  • มีการสะสมของแคลเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบในเลือด
  • ไข้รูมาติก
  • รังสีรักษา

การตรวจติดตามโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการตรวจ “Echocardiogram” ซึ่งเป็นการถ่ายภาพหัวใจโดยไม่มีการสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกาย เพื่อแสดงให้เห็นขนาดของลิ้นหัวใจเอออร์ติกและวัดความเร็วของเลือดที่ไหลผ่านลิ้นหัวใจ รวมถึงความดันจากทั้งสองฝั่ง การตรวจจะระบุว่ามีระดับความรุนแรงของโรคในระดับเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง

 

การติดต่อแพทย์ระหว่างการตรวจแต่ละครั้งเป็นเรื่องสำคัญ โดยแจ้งถึงอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรืออาการใดก็ตามที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน รวมทั้งติดตามการลุกลามของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

อาการของโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

“ผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบถึง 1 ใน 3 ทราบว่ามีอาการเมื่อได้รับการประเมินเพิ่มเติมแล้วเท่านั้น”

ผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอาจรายงานว่าไม่มีอาการใดๆ แต่หลังจากตรวจโดยละเอียดแล้วถึงได้ทราบว่าตนมีอาการ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องพูดคุยกับแพทย์เรื่องอาการของคุณ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกิจวัตรประจำวัน

อาการ

  • เหนื่อยล้า หรืออ่อนเพลียอย่างรุนแรง
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • เหนื่อยง่ายเมื่อเดินในระยะทางสั้นๆ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ข้อเท้าและเท้าบวม
  • เวียนศรีษะหรือวิงเวียนคล้ายจะเป็นลม
  • นอนหลับยาก
  • หน้ามืด

อาการแสดง

  • หัวใจเต้นมีเสียงฟู่ของหัวใจ
  • ไอแห้ง ๆ

ทางเลือกการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรง

วิธีเดียวที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงคือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งสามารถทำได้โดยหัตถการการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (transcatheter aortic valve replacement, TAVI) ซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและสุขภาพโดยรวมจะเป็นตัวกำหนดว่าทางเลือกการรักษาใดเหมาะสมที่สุด

ประโยชน์ของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน

  • คุณภาพชีวิตดีขึ้น
  • อาการทุเลาลง
  • เจ็บน้อยลงและลดความกังวล
  • ลดหัตถการรุกล้ำ โอกาสเกิดแผลเป็นน้อย
  • ระยะเวลาฟื้นตัวสั้น กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว
  • ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลสั้น

การประเมินทางเลือกการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน

ทีมแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน จะประเมินโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยและส่งต่อมาทีมแพทย์ ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ โดยจะร่วมกันพิจารณาผู้ป่วยแต่ละคนจากปัจจัยที่มี

  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography) เป็นการตรวจที่ถ่ายภาพหัวใจโดยไม่มีการสอดใส่วัตถุใดๆ เข้าไปในหัวใจ
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA) เพื่อดูโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
  • การสวนหัวใจ แสดงให้เห็นความดันโลหิตและการไหลเวียนของเลือด
  • เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจดูขนาดของหัวใจและทรวงอก

ในบางกรณีคุณอาจเคยผ่านการตรวจข้างต้นมาแล้ว การประเมินเหล่านี้ช่วยให้แพทย์ที่ทำหัตถการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน สามารถวางแผนการรักษาตามผลการประเมินล่าสุด ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเพราะแพทย์ที่ทำการรักษา ต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้แนะนำทางรักษาที่ดีที่สุด

สิ่งที่คาดหวังจากหัตถการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน

1. ก่อนทำหัตถการ

  • ทำความสะอาดช่องปาก เนื่องจากการติดเชื้อในช่องปากหรือฟัน สามารถแพร่กระจายและก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจได้ ดังนั้นการให้ทันตแพทย์ตรวจและเตรียมช่องปากก่อนทำหัตถการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลิ้นหัวใจจึงมีความสำคัญ
  • ให้ข้อมูลและคำแนะนำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับหัตถการ ความวิตกกังวลอาจเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ แพทย์จะเป็นผู้แจ้งและทบทวนเรื่องความเสี่ยงและประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและตอบคำถามหรือข้อข้อสงสัยต่างๆ

2. ระหว่างทำหัตถการ

  • ได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนทำหัตถการ แพทย์จะผ่าตัดผิวหนังบริเวณขาขนาดเล็กแล้วสอดท่อขนาดเล็กเล็ก เรียกว่าสายส่วนเข้าทางหลอดเลือดแดง จากนั้นแพทย์จะนำสายสวนที่มีลิ้นหัวใจใหม่อยู่บนบอลลูนใส่ไปถึงหัวใจ แพทย์จะขยายขนาดของบอลลูนให้พองขึ้นเพื่อขยายลิ้นหัวใจใหม่พร้อมดันลิ้นหัวใจเดิมออกไปด้านข้าง ซึ่งลิ้นหัวใจใหม่จะเกาะกับเนื้อเยื่อที่มีการสะสมแคลเซียมของกลีบลิ้นหัวใจเดิมที่เป็นโรคยึดติดอยู่กับที่แล้วเริ่มทำงานทันที

3. หลังทำหัตถการ

  • ระยะเวลาในการฟื้นตัวและระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวน มักใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลสั้นกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปิดหัวใจ

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ. นพ.ณัฐวุฒิ วงษ์ประภารัตน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง