
ปัสสาวะปนเลือด สัญญาณอันตรายมะเร็งเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ
มะเร็งเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ (Urothelial Carcinoma) คือมะเร็งที่เกิดที่ชั้นในสุดของทางเดินปัสสาวะ เป็นบริเวณที่สัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะตั้งแต่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ อาการที่พบคือ ปัสสาวะปนเลือด (hematuria) อาการปวดบริเวณด้านข้างลำตัว เอว และหลัง หรืออาจไม่แสดงอาการ แต่พบจากการตรวจเช็คสุขภาพก็ได้
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุทางเดินปัสสาวะทำได้โดยเมื่อภาพถ่ายทางรังสี CT scan หรือ MRI พบภาวะสงสัยมะเร็งเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบปัสสาวะจะทำการส่องกล้องไปในบริเวณที่ผิดปกติ คือ การส่องกล้อง ureteroscopy ในท่อไต โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือพิเศษลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีกล้องอยู่ที่ปลาย โดยจะใส่เข้าไปท่อไตผ่านทางท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ จึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็น และส่องกล้อง flexible ureteroscopy ในไต ซึ่งเป็นกล้องคล้าย ureteroscope แต่มีความยืดหยุ่น สามารถโค้งงอไปตามช่องต่าง ๆ ของไตได้ เพื่อทำการเก็บชิ้นเนื้อ (biopsy) ส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
การรักษา (ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง)
- หากเป็นมะเร็งในขั้นต้น เนื้อร้ายอยู่เฉพาะชั้นตื้น การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ ureteroscopy ในท่อไต และ flexible ureteroscopy ในไต นอกจากจะสามารถเก็บชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยแล้ว ยังสามารถใช้เลเซอร์ (laser ablation) กำจัดเนื้อร้ายเหล่านั้นได้ด้วย ถือเป็นการรักษามะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด
- หากเป็นมะเร็งในขั้นที่รุนแรงมากขึ้น เนื้อร้ายกินเข้าชั้นลึก หลังจากการเก็บชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยแล้ว การผ่าตัดถือเป็นการรักษาหลักของมะเร็งประเภทนี้
- การรักษาอื่น เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ถือเป็นการรักษาเสริมในบางกรณี
การติดตามผล
หลังการรักษา การติดตามผลเป็นสิ่งสำคัญเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งไม่ได้กลับมาอีก นอกจากการทำภาพถ่ายทางรังสี (CT หรือ MRI) แล้ว การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ ureteroscopy ในท่อไต และ flexible ureteroscopy ในไต เป็นสิ่งสำคัญในการติดตามเนื้อร้ายได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ตั้งแต่มะเร็งยังมีขนาดเล็ก
ข้อดีของการรักษาด้วยการส่องกล้องทางระบบปัสสาวะ
- ลดการบาดเจ็บ: การรักษาด้วยวิธี endourology ไม่มีแผลเป็น จึงบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดช่องท้องใหญ่ ซึ่งช่วยลดเวลาพักฟื้นและความเจ็บปวด
- การฟื้นตัวเร็ว: ผู้ป่วยมักจะฟื้นตัวได้เร็วเนื่องจากมีความเจ็บปวดน้อย สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ในเวลาที่สั้น
- สามารถทำซ้ำได้: การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ สามารถใช้ในการติดตามโรคและรักษาซ้ำเมื่อมะเร็งกลับมาเป็นใหม่
ข้อมูลจาก : พญ. กานติมา จงจิตอารี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A
บทความที่เกี่ยวข้อง
มะเร็งเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ (Urothelial Carcinoma) คือมะเร็งที่เกิดที่ชั้นในสุดของทางเดินปัสสาวะ เป็นบริเวณที่สัมผัสโดยตรงกับปัสสาวะตั้งแต่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ อาการที่พบคือ ปัสสาวะปนเลือด (hematuria) อาการปวดบริเวณด้านข้างลำตัว เอว และหลัง หรืออาจไม่แสดงอาการ แต่พบจากการตรวจเช็คสุขภาพก็ได้
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุทางเดินปัสสาวะทำได้โดยเมื่อภาพถ่ายทางรังสี CT scan หรือ MRI พบภาวะสงสัยมะเร็งเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบปัสสาวะจะทำการส่องกล้องไปในบริเวณที่ผิดปกติ คือ การส่องกล้อง ureteroscopy ในท่อไต โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นเครื่องมือพิเศษลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีกล้องอยู่ที่ปลาย โดยจะใส่เข้าไปท่อไตผ่านทางท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ จึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็น และส่องกล้อง flexible ureteroscopy ในไต ซึ่งเป็นกล้องคล้าย ureteroscope แต่มีความยืดหยุ่น สามารถโค้งงอไปตามช่องต่าง ๆ ของไตได้ เพื่อทำการเก็บชิ้นเนื้อ (biopsy) ส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
การรักษา (ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง)
- หากเป็นมะเร็งในขั้นต้น เนื้อร้ายอยู่เฉพาะชั้นตื้น การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ ureteroscopy ในท่อไต และ flexible ureteroscopy ในไต นอกจากจะสามารถเก็บชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยแล้ว ยังสามารถใช้เลเซอร์ (laser ablation) กำจัดเนื้อร้ายเหล่านั้นได้ด้วย ถือเป็นการรักษามะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด
- หากเป็นมะเร็งในขั้นที่รุนแรงมากขึ้น เนื้อร้ายกินเข้าชั้นลึก หลังจากการเก็บชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยแล้ว การผ่าตัดถือเป็นการรักษาหลักของมะเร็งประเภทนี้
- การรักษาอื่น เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี ถือเป็นการรักษาเสริมในบางกรณี
การติดตามผล
หลังการรักษา การติดตามผลเป็นสิ่งสำคัญเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งไม่ได้กลับมาอีก นอกจากการทำภาพถ่ายทางรังสี (CT หรือ MRI) แล้ว การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ ureteroscopy ในท่อไต และ flexible ureteroscopy ในไต เป็นสิ่งสำคัญในการติดตามเนื้อร้ายได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ตั้งแต่มะเร็งยังมีขนาดเล็ก
ข้อดีของการรักษาด้วยการส่องกล้องทางระบบปัสสาวะ
- ลดการบาดเจ็บ: การรักษาด้วยวิธี endourology ไม่มีแผลเป็น จึงบาดเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดช่องท้องใหญ่ ซึ่งช่วยลดเวลาพักฟื้นและความเจ็บปวด
- การฟื้นตัวเร็ว: ผู้ป่วยมักจะฟื้นตัวได้เร็วเนื่องจากมีความเจ็บปวดน้อย สามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ในเวลาที่สั้น
- สามารถทำซ้ำได้: การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ สามารถใช้ในการติดตามโรคและรักษาซ้ำเมื่อมะเร็งกลับมาเป็นใหม่
ข้อมูลจาก : พญ. กานติมา จงจิตอารี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A
บทความที่เกี่ยวข้อง