รู้อาการ รักษาทัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome-ACS) หมายถึง กลุ่มอาการที่มีลักษณะบ่งชี้ถึงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน อาการที่สำคัญ คือ เจ็บเค้นอกรุนแรงเฉียบพลัน หรือเจ็บขณะพักนานกว่า 20 นาที หรือเจ็บเค้นอกซึ่งเกิดขึ้นใหม่รุนแรงกว่าเดิม ร้อยละ 70 มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดแดงหัวใจอุดตันจากการแตกของตะกรัน แบ่งตามลักษณะอาการทางคลินิกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พบการยกตัวผิดปกติของช่วง ST (ST segment) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และพบค่าเอ็นไซม์การทำงานของหัวใจผิดปกติ มักแสดงถึงการอุดตันของหลอดเลือดแดงหัวใจเส้นสำคัญ ทำให้เกิดภาวะขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตกะทันหันได้
รูปที่ 1: ภาพแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบการยกตัวของช่วง ST
2. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ไม่พบการยกตัวของช่วง ST (ST segment) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ร่วมกับพบค่าเอ็นไซม์การทำงานของหัวใจผิดปกติ บ่งบอกถึงการอุดตันของหลอดเลือดแดงหัวใจบางส่วน ในกรณีนี้กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดเพียงส่วนหนึ่งของผนังกล้ามเนื้อ
รูปที่ 2: ภาพแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ไม่พบการยกตัวของช่วง ST
3. ภาวะอาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ เป็นกลุ่มอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่อาจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติหรือผิดปกติได้แต่ค่าเอ็นไซม์การทำงานของหัวใจปกติ อาการปวดที่เป็นในแต่ละครั้งจะเพิ่มความปวดที่รุนแรงและนานมากขึ้น
สาเหตุของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
เป็นสภาวะของหลอดเลือดหัวใจที่เสื่อมสภาพหรือแข็งตัวแล้วเกิดมีการฉีกขาด หรือปริแตกที่ด้านในของผนังหลอดเลือด เกล็ดเลือดจะเกาะกลุ่มอย่างรวดเร็วบริเวณที่มีการปริแตกหรือฉีกขาด ซึ่งจะมีการกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วในบริเวณดังกล่าว หากลิ่มเลือดอุดกั้นบางส่วนทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกไม่คงที่แต่ยังไม่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย กรณีลิ่มเลือดเกิดการอุดตันโดยสมบูรณ์จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
1. เพศ เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
2. อายุ เพศชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
3. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติครอบครัว (first degree relative) หมายถึง พ่อแม่ พี่น้อง ลูก เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันก่อนวัยอันควร (เพศชายอายุน้อยกว่า 55 ปี เพศหญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
1. ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคตา หรือโรคไต
2. ระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันจะจับที่ผนังด้านในหลอดเลือดหัวใจเกิดการรวมตัวเป็นแผ่นหนามากขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
3. การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง เกิดความดันโลหิตสูง
4. โรคเบาหวาน ปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้
5. อ้วนลงพุง เนื่องจากคนที่อ้วนลงพุงส่วนใหญ่พบว่ามีระดับไขมันในหลอดเลือดสูง โดยพิจารณาได้จากขนาดของเส้นรอบเอว ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร และผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร
6. ขาดการออกกำลังกาย จะทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก การเผาผลาญพลังงานน้อย และเกิดการสะสมของไขมันได้
7. ความเครียด ทำให้ร่างกายเกิด การเผาผลาญไขมันในหลอดเลือดผิดปกติ ทำให้ระดับไขมันในหลอดเลือดสูงได้
อาการแสดงของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
1. เจ็บแน่นหน้าอก มีอาการเจ็บแน่นอยู่ใต้หน้าอก อาจร้าวไปที่แขน ไหล่ คอ หรือกราม อาการเจ็บประมาณ 5-10 นาที อาจถูกกระตุ้นโดยการออกแรง หรือภาวะเครียด อาการจะดีขึ้นเมื่อได้พักหรือใช้ยาอมใต้ลิ้น หรือพ่นยาใต้ลิ้น แต่ในภาวะกล้ามเนื้อโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างต่อเนื่อง แม้จะอมยาใต้ลิ้นแล้ว หรือมีการเจ็บแน่นหน้าอกแม้ในขณะนั่งพักก็ได้
2. ใจสั่น เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย
แนวทางการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
แบ่งตามความรุนแรงของโรคได้ 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบการยกตัวอย่างผิดปกติของช่วง ST segment (STEMI) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป้าหมายสำคัญ คือ ควรเปิดหลอดเลือดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายภายใน 12 ชั่วโมง หลังจากมีอาการเจ็บเค้นอก ภายใน 12-24 ชั่วโมง พิจารณาการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และ/หรือใส่ขดลวด
2. กลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบการยกตัวอย่างผิดปกติของช่วง ST segment (Non-STEMI) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
พิจารณาการรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจที่อุดตันด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ และใส่ขดลวดค้ำยันโดยเร็วในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้
- เจ็บเค้นอกและอาการไม่ดีขึ้น หลังให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาต้านเกล็ดเลือดและยาบรรเทาอาการเจ็บเค้นอก
- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกไม่คงที่ เป็นๆ หายๆ ภาวะไหลเวียนโลหิตไม่คงที่ มีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว
การรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจ
1. การขยายด้วยบอลลูน และ/หรือการขยายด้วยขดลวด มีทั้งขดลวดแบบเคลือบยา ไม่เคลือบยา และขดลวดแบบละลายได้ พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
2. การรักษาด้วยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนข้ามบริเวณที่มีการตีบตันไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำในกรณีใส่ขดลวดไม่ได้ หรือตรวจพบภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นร่วมด้วย
3. การรักษาด้วยยา
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
1. ออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที การออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือ การเดิน โดยเริ่มเดินช้าๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
2. เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้นๆ ทันทีและอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด หากอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซํ้าได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. ทำจิตใจให้สงบ หาเวลาพักผ่อนและลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมกีฬา การแข่งขันที่เร้าใจ
4. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ หากมีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ควรปรึกษาแพทย์
5. หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสเค็มและหวาน
7. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นํ้าชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์
1. อาการเจ็บหน้าอก (Angina pectoris)
- มีอาการเจ็บลึกๆ แน่นๆ บริเวณกลางหน้าอกหรือใต้อก ลักษณะเหมือนถูกรัด ถูกกด หรือถูกบีบ อาจร้าวไปที่บริเวณไหล่ แขน โดยเฉพาะไหล่และแขนซ้ายด้านใน หรือร้าวไปบริเวณคอ ขากรรไกร หรือลิ้นปี่
- อาการเจ็บจะเป็นนานประมาณ 5-10 นาที
- มีการใช้ยาอมใต้ลิ้นหรือพ่นยาใต้ลิ้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น
2. ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม หมดสติ
3. อาการเหนื่อยร่วมกับหายใจไม่อิ่ม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome-ACS) หมายถึง กลุ่มอาการที่มีลักษณะบ่งชี้ถึงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน อาการที่สำคัญ คือ เจ็บเค้นอกรุนแรงเฉียบพลัน หรือเจ็บขณะพักนานกว่า 20 นาที หรือเจ็บเค้นอกซึ่งเกิดขึ้นใหม่รุนแรงกว่าเดิม ร้อยละ 70 มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดแดงหัวใจอุดตันจากการแตกของตะกรัน แบ่งตามลักษณะอาการทางคลินิกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่พบการยกตัวผิดปกติของช่วง ST (ST segment) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และพบค่าเอ็นไซม์การทำงานของหัวใจผิดปกติ มักแสดงถึงการอุดตันของหลอดเลือดแดงหัวใจเส้นสำคัญ ทำให้เกิดภาวะขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดความหนาของผนังกล้ามเนื้อหัวใจ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตกะทันหันได้
รูปที่ 1: ภาพแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบการยกตัวของช่วง ST
2. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ไม่พบการยกตัวของช่วง ST (ST segment) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ร่วมกับพบค่าเอ็นไซม์การทำงานของหัวใจผิดปกติ บ่งบอกถึงการอุดตันของหลอดเลือดแดงหัวใจบางส่วน ในกรณีนี้กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดเพียงส่วนหนึ่งของผนังกล้ามเนื้อ
รูปที่ 2: ภาพแสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ไม่พบการยกตัวของช่วง ST
3. ภาวะอาการเจ็บหน้าอกชนิดไม่คงที่ เป็นกลุ่มอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่อาจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติหรือผิดปกติได้แต่ค่าเอ็นไซม์การทำงานของหัวใจปกติ อาการปวดที่เป็นในแต่ละครั้งจะเพิ่มความปวดที่รุนแรงและนานมากขึ้น
สาเหตุของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
เป็นสภาวะของหลอดเลือดหัวใจที่เสื่อมสภาพหรือแข็งตัวแล้วเกิดมีการฉีกขาด หรือปริแตกที่ด้านในของผนังหลอดเลือด เกล็ดเลือดจะเกาะกลุ่มอย่างรวดเร็วบริเวณที่มีการปริแตกหรือฉีกขาด ซึ่งจะมีการกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วในบริเวณดังกล่าว หากลิ่มเลือดอุดกั้นบางส่วนทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกไม่คงที่แต่ยังไม่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย กรณีลิ่มเลือดเกิดการอุดตันโดยสมบูรณ์จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
1. เพศ เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
2. อายุ เพศชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
3. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติครอบครัว (first degree relative) หมายถึง พ่อแม่ พี่น้อง ลูก เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันก่อนวัยอันควร (เพศชายอายุน้อยกว่า 55 ปี เพศหญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
1. ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคตา หรือโรคไต
2. ระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันจะจับที่ผนังด้านในหลอดเลือดหัวใจเกิดการรวมตัวเป็นแผ่นหนามากขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
3. การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง เกิดความดันโลหิตสูง
4. โรคเบาหวาน ปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบแข็งได้
5. อ้วนลงพุง เนื่องจากคนที่อ้วนลงพุงส่วนใหญ่พบว่ามีระดับไขมันในหลอดเลือดสูง โดยพิจารณาได้จากขนาดของเส้นรอบเอว ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร และผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร
6. ขาดการออกกำลังกาย จะทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก การเผาผลาญพลังงานน้อย และเกิดการสะสมของไขมันได้
7. ความเครียด ทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันในหลอดเลือดผิดปกติ ทำให้ระดับไขมันในหลอดเลือดสูงได้
อาการแสดงของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
1. เจ็บแน่นหน้าอก มีอาการเจ็บแน่นอยู่ใต้หน้าอก อาจร้าวไปที่แขน ไหล่ คอ หรือกราม อาการเจ็บประมาณ 5-10 นาที อาจถูกกระตุ้นโดยการออกแรง หรือภาวะเครียด อาการจะดีขึ้นเมื่อได้พักหรือใช้ยาอมใต้ลิ้น หรือพ่นยาใต้ลิ้น แต่ในภาวะกล้ามเนื้อโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างต่อเนื่อง แม้จะอมยาใต้ลิ้นแล้ว หรือมีการเจ็บแน่นหน้าอกแม้ในขณะนั่งพักก็ได้
2. ใจสั่น เหงื่อออกมาก เหนื่อยง่าย
แนวทางการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
แบ่งตามความรุนแรงของโรคได้ 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบการยกตัวอย่างผิดปกติของช่วง ST segment (STEMI) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป้าหมายสำคัญ คือ ควรเปิดหลอดเลือดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายภายใน 12 ชั่วโมง หลังจากมีอาการเจ็บเค้นอก ภายใน 12-24 ชั่วโมง พิจารณาการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และ/หรือใส่ขดลวด
2. กลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบการยกตัวอย่างผิดปกติของช่วง ST segment (Non-STEMI) ในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
พิจารณาการรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจที่อุดตันด้วยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ และใส่ขดลวดค้ำยันโดยเร็วในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้
- เจ็บเค้นอกและอาการไม่ดีขึ้น หลังให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาต้านเกล็ดเลือดและยาบรรเทาอาการเจ็บเค้นอก
- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกไม่คงที่ เป็นๆ หายๆ ภาวะไหลเวียนโลหิตไม่คงที่ มีอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว
การรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจ
1. การขยายด้วยบอลลูน และ/หรือการขยายด้วยขดลวด มีทั้งขดลวดแบบเคลือบยา ไม่เคลือบยา และขดลวดแบบละลายได้ พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
2. การรักษาด้วยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนข้ามบริเวณที่มีการตีบตันไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำในกรณีใส่ขดลวดไม่ได้ หรือตรวจพบภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นร่วมด้วย
3. การรักษาด้วยยา
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
1. ออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที การออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือ การเดิน โดยเริ่มเดินช้าๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังตนเอง
2. เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้นๆ ทันทีและอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด หากอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซํ้าได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. ทำจิตใจให้สงบ หาเวลาพักผ่อนและลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมกีฬา การแข่งขันที่เร้าใจ
4. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ หากมีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ควรปรึกษาแพทย์
5. หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ
6. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสเค็มและหวาน
7. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นํ้าชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์
1. อาการเจ็บหน้าอก (Angina pectoris)
- มีอาการเจ็บลึกๆ แน่นๆ บริเวณกลางหน้าอกหรือใต้อก ลักษณะเหมือนถูกรัด ถูกกด หรือถูกบีบ อาจร้าวไปที่บริเวณไหล่ แขน โดยเฉพาะไหล่และแขนซ้ายด้านใน หรือร้าวไปบริเวณคอ ขากรรไกร หรือลิ้นปี่
- อาการเจ็บจะเป็นนานประมาณ 5-10 นาที
- มีการใช้ยาอมใต้ลิ้นหรือพ่นยาใต้ลิ้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น
2. ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม หมดสติ
3. อาการเหนื่อยร่วมกับหายใจไม่อิ่ม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C