ดูแลผู้สูงอายุในหน้าหนาวอย่างไรให้แข็งแรง

   เมื่อเข้าสู่หน้าหนาวอากาศเริ่มเย็นลง ต้องดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปเมื่ออุณหภูมิของร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วจากอากาศหนาว จะเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายและสร้างความอบอุ่น ส่งผลให้มีอาการหนาวสั่น แต่ผู้สูงอายุร่างกายไม่สามารถตอบสนองได้ดีเท่ากับวัยหนุ่มสาว แล้วเราจะดูแลผู้สูงอายุในหน้าหนาวนี้ได้อย่างไร

ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในหน้าหนาว

1. โรคระบบทางเดินหายใจ

     เช่น ไข้หวัด มักไม่มีอาการรุนแรงและสามารถหายได้เองในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่สุขภาพอ่อนแออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อาการขาดน้ำเนื่องจากไข้สูงทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง และปอดอักเสบได้ แต่ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 จะมีอาการรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี และวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ Covid-19 อย่างน้อย 2 เข็ม

2. อาการคันเนื่องจากผิวหนังแห้ง

     เมื่อเข้าสู่วัยชรา ต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะมีจำนวนลดลง การผลิตสารไขมันเพื่อเคลือบผิวหนังก็น้อยลง ยิ่งในช่วงอากาศหนาวความชื้นในอากาศลดลง จะทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงลงไปมาก ส่งผลให้ขาดความชุ่มชื้น ผิวหนังแห้ง ปลายประสาทที่ใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นจนเกิดอาการคันอย่างมาก และหากเกาจนเกิดเป็นแผลแตกจะยิ่งทำให้ผิวหนังอักเสบเรื้อรังตามมาได้

3. การกำเริบรุนแรงของโรคในระบบไหลเวียนเลือด

     ผู้สูงอายุในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น มักจะไม่ค่อยอยากออกไปนอกบ้านเพื่อออกกำลังกาย การรับประทานอาหารก็อาจเป็นอาหารที่มีไขมันสูง ยิ่งกว่านั้นเมื่ออยู่ในอากาศที่หนาวเย็น หัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความต้องการออกซิเจนมากขึ้น หากมีโรคประจำตัวในระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง ก็อาจทำให้โรคเดิมกำเริบขึ้นได้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายและโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้ถึงร้อยละ 50

4. ภาวะอุณหภูมิร่างกายลดลงมากผิดปกติ (hypothermia)

     เนื่องจากประสาทรับรู้อากาศที่ผิวหนังลดลง ร่างกายไม่สามารถตอบสนองด้วยการหนาวสั่นหรือการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความอบอุ่นได้ดีเหมือนคนหนุ่มสาว ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหลอดเลือดที่ผิวหนังเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนออกจากร่างกายก็เสื่อมลง นอกจากนั้นโรคที่พบร่วมด้วยในผู้สูงอายุก็อาจส่งเสริมให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นได้ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด การได้รับยาบางชนิด เช่น opioids, benzodiazepines การดื่มสุรา หรือการที่อยู่คนเดียวโดยไม่มีผู้ดูแลเรื่องเครื่องนุ่งห่มอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้อาจมีอาการตั้งแต่อ่อนเพลีย ท้องอืดจากลำไส้ไม่ทำงาน ซึมลง หายใจช้า ชีพจรเต้นช้า ปัสสาวะลดลงจนหมดสติและอาจเสียชีวิตในที่สุด

     นอกจากภาวะต่างๆ ข้างต้นแล้ว อาจพบอาการอื่นๆ อีก เช่น อาการปวดข้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคปวดข้อเรื้อรังอยู่เดิม อากาศที่หนาวเย็นอาจกระตุ้นให้โรครุนแรงขึ้นได้ หรืออาจกระตุ้นให้โรคเก๊าต์กำเริบ ท้องผูกรุนแรงขึ้น เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำ ทำให้ลำไส้ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น

 

ดูแลผู้สูงอายุในหน้าหนาวอย่างไรให้แข็งแรง

 

หนาวนี้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างไร?

1. ป้องกันโรคตั้งแต่ยังสุขภาพดี หรือการป้องกันระดับปฐมภูมิ (primary prevention)

     ได้แก่ รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ สวมใส่เสื้อผ้าที่หนา ใช้เครื่องนุ่มห่มให้เพียงพอโดยเฉพาะช่วงกลางคืน หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในฝูงชนที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดี เพราะอาจรับเชื้อไวรัสจากผู้อื่นได้  ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจวาย ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และพกยาประจำติดตัวไว้เสมอเมื่อเดินทางท่องเที่ยว

2.  ป้องกันโรคตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มแสดงอาการ หรือการป้องกันระดับทุติยภูมิ (secondary prevention)

     เพื่อป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปจนเข้าสู่ระยะรุนแรง สำหรับผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว ควรสวมเสื้อผ้าที่หนา ใช้เครื่องนุ่มห่มให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศเย็น ดื่มน้ำอุ่นเสมอ ไม่อดนอน หากเริ่มมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีอยู่เดิมสามารถหายาลดไข้พาราเซตามอลรับประทานเองได้ แต่ระวังยาลดน้ำมูกและยาแก้ไอที่มีสารโคเดอีนผสมอยู่เพราะมักทำให้มีอาการง่วงซึม ทำให้การดูแลตนเองลดลงได้ ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่แข็งแรง ควรปรึกษาแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการ ผู้ที่มีอาการคันจากผิวแห้ง ซึ่งพบได้บ่อยเนื่องจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังลดจำนวนลงในผู้สูงอายุ ควรใช้โลชั่นป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง โดยเฉพาะภายหลังอาบน้ำอุ่นเสร็จใหม่ๆ ผู้ที่มีอาการแพ้ง่ายแนะนำให้ใช้โลชั่นที่อ่อนโยนไม่ระคายเคืองผิว  เช่น  โลชั่นสำหรับเด็กจะปลอดภัยกว่าโลชั่นทั่วไปที่มักใส่น้ำหอม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้และคันยิ่งขึ้นได้

3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการจากโรคที่แสดงอาการชัดเจน หรือการป้องกันระดับตติยภูมิ (tertiary prevention)

โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคในระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการของโรคเดิมรุนแรงขึ้น

การดูแลและเข้าใจธรรมชาติของผู้สูงอายุ จะต้องมีความรัก ความเข้าใจ และกำลังใจจากคนใกล้ชิดเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีชิวิตที่ยืนยาวขึ้นได้อย่างมีความสุข

ข้อมูลจาก : ศ.นพ.ประเสริฐ  อัสสันตชัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

 

   เมื่อเข้าสู่หน้าหนาวอากาศเริ่มเย็นลง ต้องดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปเมื่ออุณหภูมิของร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วจากอากาศหนาว จะเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายและสร้างความอบอุ่น ส่งผลให้มีอาการหนาวสั่น แต่ผู้สูงอายุร่างกายไม่สามารถตอบสนองได้ดีเท่ากับวัยหนุ่มสาว แล้วเราจะดูแลผู้สูงอายุในหน้าหนาวนี้ได้อย่างไร

ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในหน้าหนาว

1. โรคระบบทางเดินหายใจ

     เช่น ไข้หวัด มักไม่มีอาการรุนแรงและสามารถหายได้เองในระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่สุขภาพอ่อนแออาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อาการขาดน้ำเนื่องจากไข้สูงทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ภาวะไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง และปอดอักเสบได้ แต่ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อไวรัส Covid-19 จะมีอาการรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี และวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ Covid-19 อย่างน้อย 2 เข็ม

2. อาการคันเนื่องจากผิวหนังแห้ง

     เมื่อเข้าสู่วัยชรา ต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะมีจำนวนลดลง การผลิตสารไขมันเพื่อเคลือบผิวหนังก็น้อยลง ยิ่งในช่วงอากาศหนาวความชื้นในอากาศลดลง จะทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงลงไปมาก ส่งผลให้ขาดความชุ่มชื้น ผิวหนังแห้ง ปลายประสาทที่ใต้ผิวหนังถูกกระตุ้นจนเกิดอาการคันอย่างมาก และหากเกาจนเกิดเป็นแผลแตกจะยิ่งทำให้ผิวหนังอักเสบเรื้อรังตามมาได้

3. การกำเริบรุนแรงของโรคในระบบไหลเวียนเลือด

     ผู้สูงอายุในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น มักจะไม่ค่อยอยากออกไปนอกบ้านเพื่อออกกำลังกาย การรับประทานอาหารก็อาจเป็นอาหารที่มีไขมันสูง ยิ่งกว่านั้นเมื่ออยู่ในอากาศที่หนาวเย็น หัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความต้องการออกซิเจนมากขึ้น หากมีโรคประจำตัวในระบบไหลเวียนเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหลอดเลือดสมอง ก็อาจทำให้โรคเดิมกำเริบขึ้นได้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายและโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้ถึงร้อยละ 50

4. ภาวะอุณหภูมิร่างกายลดลงมากผิดปกติ (hypothermia)

     เนื่องจากประสาทรับรู้อากาศที่ผิวหนังลดลง ร่างกายไม่สามารถตอบสนองด้วยการหนาวสั่นหรือการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความอบอุ่นได้ดีเหมือนคนหนุ่มสาว ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหลอดเลือดที่ผิวหนังเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนออกจากร่างกายก็เสื่อมลง นอกจากนั้นโรคที่พบร่วมด้วยในผู้สูงอายุก็อาจส่งเสริมให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นได้ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด การได้รับยาบางชนิด เช่น opioids, benzodiazepines การดื่มสุรา หรือการที่อยู่คนเดียวโดยไม่มีผู้ดูแลเรื่องเครื่องนุ่งห่มอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้อาจมีอาการตั้งแต่อ่อนเพลีย ท้องอืดจากลำไส้ไม่ทำงาน ซึมลง หายใจช้า ชีพจรเต้นช้า ปัสสาวะลดลงจนหมดสติและอาจเสียชีวิตในที่สุด

     นอกจากภาวะต่างๆ ข้างต้นแล้ว อาจพบอาการอื่นๆ อีก เช่น อาการปวดข้อ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคปวดข้อเรื้อรังอยู่เดิม อากาศที่หนาวเย็นอาจกระตุ้นให้โรครุนแรงขึ้นได้ หรืออาจกระตุ้นให้โรคเก๊าต์กำเริบ ท้องผูกรุนแรงขึ้น เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำ ทำให้ลำไส้ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น

 

ดูแลผู้สูงอายุในหน้าหนาวอย่างไรให้แข็งแรง

 

หนาวนี้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างไร?

1. ป้องกันโรคตั้งแต่ยังสุขภาพดี หรือการป้องกันระดับปฐมภูมิ (primary prevention)

     ได้แก่ รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ สวมใส่เสื้อผ้าที่หนา ใช้เครื่องนุ่มห่มให้เพียงพอโดยเฉพาะช่วงกลางคืน หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในฝูงชนที่มีการระบายอากาศที่ไม่ดี เพราะอาจรับเชื้อไวรัสจากผู้อื่นได้  ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจวาย ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และพกยาประจำติดตัวไว้เสมอเมื่อเดินทางท่องเที่ยว

2.  ป้องกันโรคตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มแสดงอาการ หรือการป้องกันระดับทุติยภูมิ (secondary prevention)

     เพื่อป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปจนเข้าสู่ระยะรุนแรง สำหรับผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว ควรสวมเสื้อผ้าที่หนา ใช้เครื่องนุ่มห่มให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศเย็น ดื่มน้ำอุ่นเสมอ ไม่อดนอน หากเริ่มมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีอยู่เดิมสามารถหายาลดไข้พาราเซตามอลรับประทานเองได้ แต่ระวังยาลดน้ำมูกและยาแก้ไอที่มีสารโคเดอีนผสมอยู่เพราะมักทำให้มีอาการง่วงซึม ทำให้การดูแลตนเองลดลงได้ ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่แข็งแรง ควรปรึกษาแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการ ผู้ที่มีอาการคันจากผิวแห้ง ซึ่งพบได้บ่อยเนื่องจากต่อมไขมันใต้ผิวหนังลดจำนวนลงในผู้สูงอายุ ควรใช้โลชั่นป้องกันการสูญเสียน้ำออกจากผิวหนัง โดยเฉพาะภายหลังอาบน้ำอุ่นเสร็จใหม่ๆ ผู้ที่มีอาการแพ้ง่ายแนะนำให้ใช้โลชั่นที่อ่อนโยนไม่ระคายเคืองผิว  เช่น  โลชั่นสำหรับเด็กจะปลอดภัยกว่าโลชั่นทั่วไปที่มักใส่น้ำหอม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้และคันยิ่งขึ้นได้

3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการจากโรคที่แสดงอาการชัดเจน หรือการป้องกันระดับตติยภูมิ (tertiary prevention)

โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคในระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการของโรคเดิมรุนแรงขึ้น

การดูแลและเข้าใจธรรมชาติของผู้สูงอายุ จะต้องมีความรัก ความเข้าใจ และกำลังใจจากคนใกล้ชิดเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีชิวิตที่ยืนยาวขึ้นได้อย่างมีความสุข

ข้อมูลจาก : ศ.นพ.ประเสริฐ  อัสสันตชัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง