
มะเร็งตับรักษาได้ หากตรวจพบเร็ว
โรคมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย เรียกว่า มะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma) และถ้าเนื้องอกเกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติจะเรียกว่า มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตปริมาณมากด้วยโรคนี้ สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และการดื่มแอลกอฮอล์ หากตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งตับก็สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการรักษาหลักของโรคมะเร็งตับ คือการผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อตับบางส่วนออก แต่บางกรณีอาจมีผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
โรคมะเร็งตับมีอาการอย่างไร?
โรคมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการแสดง โดยจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นขนาดเล็กประมาณ 2-3 เซนติเมตร เป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยอาจรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งตับเมื่อตรวจสุขภาพ ส่วนอาการแสดงของโรคมะเร็งตับนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งมีขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ยาก
กลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ
- ผู้ที่ดื่มสุรามาก ๆ
- ผู้ใช้ยาบางชนิด ที่เสี่ยงต่อโรคตับ
- ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ที่มีภาวะตับแข็ง
- ผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะตับ
- การสังเกตตัวเองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ
- หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อการคัดแยกโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นำไปสู่การรักษาให้หายขาดได้
การรักษาโรคมะเร็งตับ
การรักษาโรคมะเร็งตับมีหลายวิธีด้วยกัน เลือกใช้ตามอาการของคนไข้ หากป่วยระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าอาการที่เป็นมากกว่าระยะเริ่มต้นอาจใช้การรักษาเฉพาะที่ ด้วยวิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือดเพื่อให้เซลล์มะเร็งยุบลง หรือถ้าหากอยู่ในระยะลุกลามไปยังอวัยวะอื่น อาจใช้วิธีการรักษาด้วยยามุ่งเป้า ซึ่งเป็นตัวยาในปัจจุบันที่ใช้รักษามะเร็งนอกเหนือจากเคมีบำบัดซึ่งมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลขนาด ตำแหน่ง และการแพร่กระจายของเนื้องอกตับเพื่อประเมินระยะของโรค และวางแผนการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังต่อไปนี้
- การผ่าตัดตับเอาเนื้องอกออก (Hepatic resection)
- การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ (Liver transplantation)
- การจี้ทำลายก้อนเนื้องอก (Ablation)
- การให้สารเคมีบำบัดเฉพาะที่ผ่านหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงเนื้องอก (Transarterial chemoembolization; TACE)
- การให้สารกัมมันตรังสีผ่านหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงเนื้องอก (Transarterial radioembolization; TARE)
- การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy)
- ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- การฉายรังสี (Radiotherapy)
นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็งตับควรเลือกรับประทานที่สะอาดให้ครบ 5 หมู่ มีปริมาณสารอาหารจากโปรตีนอย่างเพียงพอ และเป็นอาหารจืดที่ปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลาในปริมาณน้อย เพื่อช่วยในการรักษาหรือป้องกันภาวะท้องมานและขาบวม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม สมุนไพร หรือยาต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นเนื่องจากสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดตับอักเสบรุนแรงจนผู้ป่วยมะเร็งตับเสียชีวิตเร็วก่อนเวลาอันควร
ปัจจุบันพบว่ามีการรักษามะเร็งตับหลายวิธีด้วยกัน นอกจากแพทย์แผนปัจจุบันยังมีแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยเลือกรักษา แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าแพทย์ทางเลือกจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับแพทย์แผนปัจจุบัน จึงแนะนำว่าถ้าหากผู้ป่วยยังมีอาการไม่มาก มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบันก่อน เพื่อลดอัตราการเสียโอกาสในการรักษาให้หายขาด เพราะถ้าหากเลือกรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกก่อนแล้วไม่ได้ผล อาจทำให้อาการป่วยลุกลามจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A
โรคมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ตับที่มีการเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอกร้าย เรียกว่า มะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma) และถ้าเนื้องอกเกิดจากเซลล์บุท่อน้ำดีเจริญเติบโตผิดปกติจะเรียกว่า มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตปริมาณมากด้วยโรคนี้ สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับคือ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และการดื่มแอลกอฮอล์ หากตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งตับก็สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งการรักษาหลักของโรคมะเร็งตับ คือการผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อตับบางส่วนออก แต่บางกรณีอาจมีผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกมะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้
โรคมะเร็งตับมีอาการอย่างไร?
โรคมะเร็งตับในระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการแสดง โดยจะมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นขนาดเล็กประมาณ 2-3 เซนติเมตร เป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยอาจรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งตับเมื่อตรวจสุขภาพ ส่วนอาการแสดงของโรคมะเร็งตับนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งมีขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ยาก
กลุ่มเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ
- ผู้ที่ดื่มสุรามาก ๆ
- ผู้ใช้ยาบางชนิด ที่เสี่ยงต่อโรคตับ
- ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ที่มีภาวะตับแข็ง
- ผู้ที่มีภาวะไขมันเกาะตับ
- การสังเกตตัวเองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ
- หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อการคัดแยกโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นำไปสู่การรักษาให้หายขาดได้
การรักษาโรคมะเร็งตับ
การรักษาโรคมะเร็งตับมีหลายวิธีด้วยกัน เลือกใช้ตามอาการของคนไข้ หากป่วยระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าอาการที่เป็นมากกว่าระยะเริ่มต้นอาจใช้การรักษาเฉพาะที่ ด้วยวิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือดเพื่อให้เซลล์มะเร็งยุบลง หรือถ้าหากอยู่ในระยะลุกลามไปยังอวัยวะอื่น อาจใช้วิธีการรักษาด้วยยามุ่งเป้า ซึ่งเป็นตัวยาในปัจจุบันที่ใช้รักษามะเร็งนอกเหนือจากเคมีบำบัดซึ่งมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ร่วมกับข้อมูลขนาด ตำแหน่ง และการแพร่กระจายของเนื้องอกตับเพื่อประเมินระยะของโรค และวางแผนการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังต่อไปนี้
- การผ่าตัดตับเอาเนื้องอกออก (Hepatic resection)
- การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ (Liver transplantation)
- การจี้ทำลายก้อนเนื้องอก (Ablation)
- การให้สารเคมีบำบัดเฉพาะที่ผ่านหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงเนื้องอก (Transarterial chemoembolization; TACE)
- การให้สารกัมมันตรังสีผ่านหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงเนื้องอก (Transarterial radioembolization; TARE)
- การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy)
- ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- การฉายรังสี (Radiotherapy)
นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็งตับควรเลือกรับประทานที่สะอาดให้ครบ 5 หมู่ มีปริมาณสารอาหารจากโปรตีนอย่างเพียงพอ และเป็นอาหารจืดที่ปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำปลาในปริมาณน้อย เพื่อช่วยในการรักษาหรือป้องกันภาวะท้องมานและขาบวม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริม สมุนไพร หรือยาต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นเนื่องจากสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดตับอักเสบรุนแรงจนผู้ป่วยมะเร็งตับเสียชีวิตเร็วก่อนเวลาอันควร
ปัจจุบันพบว่ามีการรักษามะเร็งตับหลายวิธีด้วยกัน นอกจากแพทย์แผนปัจจุบันยังมีแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยเลือกรักษา แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าแพทย์ทางเลือกจะให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับแพทย์แผนปัจจุบัน จึงแนะนำว่าถ้าหากผู้ป่วยยังมีอาการไม่มาก มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบันก่อน เพื่อลดอัตราการเสียโอกาสในการรักษาให้หายขาด เพราะถ้าหากเลือกรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกก่อนแล้วไม่ได้ผล อาจทำให้อาการป่วยลุกลามจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A