กินบุฟเฟ่ต์อย่างไรไม่ทำลายสุขภาพ
ในปัจจุบันมีร้านบุฟเฟ่ต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ นัดเจอเพื่อนหลายๆ กลุ่ม จนบางครั้งเราแทบจะเข้าร้านบุฟเฟ่ต์แบบวันเว้นวันกันเลยทีเดียว นักกำหนดอาหารของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จึงมีเคล็ดลับการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์อย่างไรให้อร่อย มีความสุข และไม่ทำลายสุขภาพมาให้ทุกท่านอ่านกันค่ะ
- อิ่ม > คุ้ม
เป็นคาถาที่นักกำหนดอาหารอยากให้ทุกท่านท่องไว้ตลอดการรับประทานบุฟเฟ่ต์ เมื่อใดที่เรานำความคุ้มมามีอิทธิพลเหนือความอิ่ม จะทำให้เรารับประทานอาหารมากเกินความต้องการ และเป็นการเพิ่มการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น เมื่อใดที่เราเริ่มรู้สึกว่าอาหารที่เรากำลังจะรับประทานเข้าไปแล้วไม่อร่อยเหมือนกับคำแรกที่เรารับประทาน นั่นเป็นสัญญาณที่ร่างกายของเรากำลังจะสื่อว่าเริ่มอิ่มและเราควรจะเริ่มหยุดรับประทานอาหารได้แล้ว เพราะ ‘ความคุ้มคือความหลากหลาย ไม่ใช่ปริมาณ’
- รับประทานช้าลงหน่อย หยิบแต่น้อยพอรับประทาน
การรับประทานอาหารให้ช้าลง จะช่วยลดปริมาณอาหารที่เราจะรับประทานเข้าไปได้ ทั้งยังทำให้เราค่อยๆ ซึมซับรสชาติของอาหารในปริมาณที่พอเหมาะต่อร่างกายของเรา และการหยิบอาหารในปริมาณที่พอดีจะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณอาหารที่เราจะรับประทานเพราะในหลายๆ ครั้ง ท่านอาจเคยประสบปัญหาที่ต้องรับประทานอาหารที่หยิบมา ทั้งๆ ที่ท่านอิ่มแล้ว
- ลดการรับประทานน้ำซุปและจิ้มน้ำจิ้มแต่น้อย
น้ำซุป หรือน้ำจิ้มของร้านบุฟเฟ่ต์ต่างๆ ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือมีโซเดียม หากเรารับประทานโซเดียมมากเกินไป จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต เป็นต้น ดังนั้น นักกำหนดอาหารจึงขอแนะนำให้พยายามลดการรับประทานน้ำซุปและจิ้มน้ำจิ้มพอให้ได้รสชาติ
- เครื่องดื่ม และขนมหวาน
บุฟเฟ่ต์หลายๆ ร้านมักจะมีน้ำหวาน น้ำอัดลม หรือขนมหวานรวมอยู่ในบุฟเฟ่ต์เหล่านั้นด้วย นักกำหนดอาหารขอแนะนำให้เลือกดื่มน้ำหวานเพียง 1 แก้วหรือลดลงจากเดิมครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน ที่อาจเป็นอีกสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน และรับประทานขนมหวานแต่พอดี ตักมาชิมอย่างละนิดอย่างละหน่อย
- รับประทานผักและข้าวในปริมาณที่พอเหมาะ
การรับประทานผักจะช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของเราสามารถทำงานได้อย่างปกติ ช่วยเติมเต็มพื้นที่ในกระเพาะอาหาร และการรับประทานข้าวร่วมด้วยจะทำให้เราอิ่มพอดี
- เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
หากรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เราได้รับไขมันอิ่มตัวมากเกินความจำเป็นและอาจส่งผลต่อไขมันในเลือดของเราได้ ดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนเนื้อสัตว์ติดมันเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น หมูสันใน เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง เป็นต้น
เราทราบว่ากลิ่นหมูย่าง เนื้อย่าง หรือกลิ่นหม้อต้มสุกี้นั้นหอมหวนเกินต้านทาน หากต้องรับประทานบุฟเฟ่ต์ อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กันด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร
ในปัจจุบันมีร้านบุฟเฟ่ต์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ นัดเจอเพื่อนหลายๆ กลุ่ม จนบางครั้งเราแทบจะเข้าร้านบุฟเฟ่ต์แบบวันเว้นวันกันเลยทีเดียว นักกำหนดอาหารของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จึงมีเคล็ดลับการรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์อย่างไรให้อร่อย มีความสุข และไม่ทำลายสุขภาพมาให้ทุกท่านอ่านกันค่ะ
- อิ่ม > คุ้ม
เป็นคาถาที่นักกำหนดอาหารอยากให้ทุกท่านท่องไว้ตลอดการรับประทานบุฟเฟ่ต์ เมื่อใดที่เรานำความคุ้มมามีอิทธิพลเหนือความอิ่ม จะทำให้เรารับประทานอาหารมากเกินความต้องการ และเป็นการเพิ่มการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น เมื่อใดที่เราเริ่มรู้สึกว่าอาหารที่เรากำลังจะรับประทานเข้าไปแล้วไม่อร่อยเหมือนกับคำแรกที่เรารับประทาน นั่นเป็นสัญญาณที่ร่างกายของเรากำลังจะสื่อว่าเริ่มอิ่มและเราควรจะเริ่มหยุดรับประทานอาหารได้แล้ว เพราะ ‘ความคุ้มคือความหลากหลาย ไม่ใช่ปริมาณ’
- รับประทานช้าลงหน่อย หยิบแต่น้อยพอรับประทาน
การรับประทานอาหารให้ช้าลง จะช่วยลดปริมาณอาหารที่เราจะรับประทานเข้าไปได้ ทั้งยังทำให้เราค่อยๆ ซึมซับรสชาติของอาหารในปริมาณที่พอเหมาะต่อร่างกายของเรา และการหยิบอาหารในปริมาณที่พอดีจะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณอาหารที่เราจะรับประทานเพราะในหลายๆ ครั้ง ท่านอาจเคยประสบปัญหาที่ต้องรับประทานอาหารที่หยิบมา ทั้งๆ ที่ท่านอิ่มแล้ว
- ลดการรับประทานน้ำซุปและจิ้มน้ำจิ้มแต่น้อย
น้ำซุป หรือน้ำจิ้มของร้านบุฟเฟ่ต์ต่างๆ ล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือมีโซเดียม หากเรารับประทานโซเดียมมากเกินไป จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต เป็นต้น ดังนั้น นักกำหนดอาหารจึงขอแนะนำให้พยายามลดการรับประทานน้ำซุปและจิ้มน้ำจิ้มพอให้ได้รสชาติ
- เครื่องดื่ม และขนมหวาน
บุฟเฟ่ต์หลายๆ ร้านมักจะมีน้ำหวาน น้ำอัดลม หรือขนมหวานรวมอยู่ในบุฟเฟ่ต์เหล่านั้นด้วย นักกำหนดอาหารขอแนะนำให้เลือกดื่มน้ำหวานเพียง 1 แก้วหรือลดลงจากเดิมครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็นการลดปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน ที่อาจเป็นอีกสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน และรับประทานขนมหวานแต่พอดี ตักมาชิมอย่างละนิดอย่างละหน่อย
- รับประทานผักและข้าวในปริมาณที่พอเหมาะ
การรับประทานผักจะช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของเราสามารถทำงานได้อย่างปกติ ช่วยเติมเต็มพื้นที่ในกระเพาะอาหาร และการรับประทานข้าวร่วมด้วยจะทำให้เราอิ่มพอดี
- เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
หากรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เราได้รับไขมันอิ่มตัวมากเกินความจำเป็นและอาจส่งผลต่อไขมันในเลือดของเราได้ ดังนั้นจึงควรปรับเปลี่ยนเนื้อสัตว์ติดมันเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน เช่น หมูสันใน เนื้อไก่ เนื้อกุ้ง เป็นต้น
เราทราบว่ากลิ่นหมูย่าง เนื้อย่าง หรือกลิ่นหม้อต้มสุกี้นั้นหอมหวนเกินต้านทาน หากต้องรับประทานบุฟเฟ่ต์ อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กันด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร