โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

   โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อและสามารถติดต่อระหว่างสัตว์และคนได้ ซึ่งอาจติดต่อจากสัตว์ไปยังคนหรือคนไปยังสัตว์ โดยทั่วไปมีเชื้อก่อโรคที่พบบ่อย ดังนี้

  • เชื้อไวรัส เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออก และโรคไข้หวัดนก
  • แบคทีเรีย เช่น โรคฉี่หนู โรคบาดทะยัก และโรคไข้กระต่าย
  • เชื้อรา เช่น โรคเชื้อราจากผิวหนังแมว และโรครามูลนก
  • เชื้อโปรโตซัว ปรสิต เช่น โรคพยาธิปากขอ และโรคไข้ขี้แมว

ประเภทของโรคติดต่อ

โรคติดต่อสามารถถ่ายทอดกันได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ผ่านการสัมผัส การหายใจ การรับประทานอาหาร และช่องทางอื่น ๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว และใช้วิธีแบ่งตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 แบ่งเป็น 4 ประเภท

  1. โรคติดต่อ คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อ แพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อม
  2. โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง คือ โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บข้อมูลต่อเนื่อง
  3. โรคติดต่ออันตราย คือ โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูง และสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว
  4. โรคระบาด คือ โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุทางการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

ตัวอย่างโรคติดต่อที่มาจากสัตว์สู่คน

1. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

   เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว หนู กระต่าย กระรอก เป็นต้น แพร่เชื้อโดยการถูกกัด ข่วน น้ำลายเข้าทางเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือรอยแผลถลอก จากการถูกเลีย หรือน้ำลายกระเด็นใส่ ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ คันที่แผล และบริเวณใกล้เคียง กลัวแสง กลัวน้ำ ต่อมามีอาการปวดท้องน้อย กล้ามเนื้อกระตุก แน่นหน้าอก หายใจขัด เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

การป้องกัน

   โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษา หากติดเชื้อจะเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัด ข่วน เลีย ไม่แหย่ให้สัตว์โมโห ไม่เข้าใกล้สัตว์ที่ไม่รู้จัก หากเลี้ยงสัตว์ให้พาสัตว์ไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าทุกปี หากโดนสัตว์กัดหรือข่วนควรรีบพบแพทย์เพื่อพิจารณารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

2. โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

   เชื้อก่อโรคเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย สุนัข เป็นต้น สามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสเชื้อโรคฉี่หนูโดยตรง และทางอ้อมโดยการย่ำน้ำ หรือกิจกรรมที่สัมผัสดินและน้ำปนเปื้อน โดยเฉพาะหากผิวหนังมีบาดแผล หรือว่ายน้ำแล้วมีการสำลักน้ำเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ สับสน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาแดงหรือเลือดออกใต้ตาขาว ไปจนถึงอาการรุนแรงหากไม่รักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิต

การป้องกัน

    หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำหรือสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนู เช่น การเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน การแช่น้ำนานๆ โดยเฉพาะหากร่างกายมีบาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน หากจำเป็นต้องลุยน้ำควรใส่รองเท้าบูท หรือเครื่องป้องกัน หากย่ำน้ำหรือแช่น้ำแล้วควรรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วและเช็ดตัวให้แห้ง

 

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อและสามารถติดต่อระหว่างสัตว์และคนได้ ซึ่งอาจติดต่อจากสัตว์ไปยังคนหรือคนไปยังสัตว์ เช่น สุนัข แมว กระต่าย หนู เป็นต้น

 

 

3. โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

   พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า ติดต่อโดยการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ หรือรับประทานสัตว์ที่ไม่สุก และหากสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจของผู้ป่วยหรือสิ่งของปนเปื้อนก็สามารถติดเชื้อได้ ทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ หมดแรง และออกผื่น หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้

การป้องกัน

   หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย โดยเฉพาะลิงและสัตว์ฟันแทะ หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง เลี่ยงสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง ตุ่มน้ำใส จากผู้ที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าติดเชื้อ หากสัมผัสเชื้อไปแล้วควรฉีดวัคซีนป้องกันภายใน 14 วัน (ยังไม่มีวัคซีนในไทย)

4. โรคไข้เลือดออก (Dengue fever)

   เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะ มักเกิดในช่วงหน้าฝน เมื่อถูกยุงที่เป็นพาหะของโรคกัด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อและป่วยตามมาประมาณ 3 – 15 วัน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ทำให้มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก มีผื่นที่ผิวหนัง หากอาการรุนแรงอาจทำให้มีภาวะเลือดออกมากผิดปกติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกัน

   ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด เช่น นอนในมุ้ง สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือใช้สารไล่ยุงแนะนำแบบทาผิวนอกเสื้อผ้า กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ปิดปากภาชนะเก็บน้ำ หมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน ทำลายแหล่งน้ำขัง รวมถึงฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค ควรมีการตรวจเลือดและปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

   โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อและสามารถติดต่อระหว่างสัตว์และคนได้ ซึ่งอาจติดต่อจากสัตว์ไปยังคนหรือคนไปยังสัตว์ โดยทั่วไปมีเชื้อก่อโรคที่พบบ่อย ดังนี้

  • เชื้อไวรัส เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้เลือดออก และโรคไข้หวัดนก
  • แบคทีเรีย เช่น โรคฉี่หนู โรคบาดทะยัก และโรคไข้กระต่าย
  • เชื้อรา เช่น โรคเชื้อราจากผิวหนังแมว และโรครามูลนก
  • เชื้อโปรโตซัว ปรสิต เช่น โรคพยาธิปากขอ และโรคไข้ขี้แมว

ประเภทของโรคติดต่อ

โรคติดต่อสามารถถ่ายทอดกันได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ผ่านการสัมผัส การหายใจ การรับประทานอาหาร และช่องทางอื่น ๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว และใช้วิธีแบ่งตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 แบ่งเป็น 4 ประเภท

  1. โรคติดต่อ คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อ แพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อม
  2. โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง คือ โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บข้อมูลต่อเนื่อง
  3. โรคติดต่ออันตราย คือ โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูง และสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว
  4. โรคระบาด คือ โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุทางการเกิดโรคแน่ชัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

ตัวอย่างโรคติดต่อที่มาจากสัตว์สู่คน

1. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

   เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว หนู กระต่าย กระรอก เป็นต้น แพร่เชื้อโดยการถูกกัด ข่วน น้ำลายเข้าทางเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือรอยแผลถลอก จากการถูกเลีย หรือน้ำลายกระเด็นใส่ ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร เจ็บคอ มีไข้ คันที่แผล และบริเวณใกล้เคียง กลัวแสง กลัวน้ำ ต่อมามีอาการปวดท้องน้อย กล้ามเนื้อกระตุก แน่นหน้าอก หายใจขัด เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด

การป้องกัน

   โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษา หากติดเชื้อจะเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัด ข่วน เลีย ไม่แหย่ให้สัตว์โมโห ไม่เข้าใกล้สัตว์ที่ไม่รู้จัก หากเลี้ยงสัตว์ให้พาสัตว์ไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าทุกปี หากโดนสัตว์กัดหรือข่วนควรรีบพบแพทย์เพื่อพิจารณารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

2. โรคฉี่หนู (Leptospirosis)

   เชื้อก่อโรคเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย สุนัข เป็นต้น สามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสเชื้อโรคฉี่หนูโดยตรง และทางอ้อมโดยการย่ำน้ำ หรือกิจกรรมที่สัมผัสดินและน้ำปนเปื้อน โดยเฉพาะหากผิวหนังมีบาดแผล หรือว่ายน้ำแล้วมีการสำลักน้ำเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ สับสน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตาแดงหรือเลือดออกใต้ตาขาว ไปจนถึงอาการรุนแรงหากไม่รักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสียชีวิต

การป้องกัน

    หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำหรือสิ่งแวดล้อมที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคฉี่หนู เช่น การเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน การแช่น้ำนานๆ โดยเฉพาะหากร่างกายมีบาดแผล รอยถลอก รอยขีดข่วน หากจำเป็นต้องลุยน้ำควรใส่รองเท้าบูท หรือเครื่องป้องกัน หากย่ำน้ำหรือแช่น้ำแล้วควรรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วและเช็ดตัวให้แห้ง

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อและสามารถติดต่อระหว่างสัตว์และคนได้ ซึ่งอาจติดต่อจากสัตว์ไปยังคนหรือคนไปยังสัตว์ เช่น สุนัข แมว กระต่าย หนู เป็นต้น

 

3. โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

   พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า ติดต่อโดยการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ หรือรับประทานสัตว์ที่ไม่สุก และหากสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจของผู้ป่วยหรือสิ่งของปนเปื้อนก็สามารถติดเชื้อได้ ทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ หมดแรง และออกผื่น หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้

การป้องกัน

   หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย โดยเฉพาะลิงและสัตว์ฟันแทะ หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง เลี่ยงสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง ตุ่มน้ำใส จากผู้ที่มีความเสี่ยงหรือสงสัยว่าติดเชื้อ หากสัมผัสเชื้อไปแล้วควรฉีดวัคซีนป้องกันภายใน 14 วัน (ยังไม่มีวัคซีนในไทย)

4. โรคไข้เลือดออก (Dengue fever)

   เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะ มักเกิดในช่วงหน้าฝน เมื่อถูกยุงที่เป็นพาหะของโรคกัด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกกัด ทำให้เกิดการติดเชื้อและป่วยตามมาประมาณ 3 – 15 วัน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ทำให้มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก มีผื่นที่ผิวหนัง หากอาการรุนแรงอาจทำให้มีภาวะเลือดออกมากผิดปกติ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกัน

   ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด เช่น นอนในมุ้ง สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือใช้สารไล่ยุงแนะนำแบบทาผิวนอกเสื้อผ้า กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ปิดปากภาชนะเก็บน้ำ หมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน ทำลายแหล่งน้ำขัง รวมถึงฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค ควรมีการตรวจเลือดและปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง