โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

โรคจมูกอักเสบ คือโรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อในจมูกที่มีการบวม แดง และมีเมือกภายในโพรงจมูกมากกว่าปกติ โดยสาเหตุอาจเกิดจากภูมิแพ้หรือไม่ใช่ภูมิแพ้ก็เป็นได้ แต่สาเหตุของโรคจมูกอักเสบเรื้อรังที่พบมากที่สุดมักเกิดจากภูมิแพ้

อาการและอาการแสดง
1. จาม
2. น้ำมูกไหล
3. คันจมูก คันตา
4. คัดจมูก
โดยอาการจะเป็นมากขึ้นหลังได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองทางเดินหายใจต่าง ๆ

ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค
1. กรรมพันธุ์ 
ประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคได้มากขึ้น
2. สารก่อภูมิแพ้
อาจสัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสัตว์ หรือเกสรดอกหญ้า เป็นต้น 
3. ปัจจัยอื่น ๆ
• การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
• การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
• สารระคายเคืองและมลภาวะทางอากาศ 


การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
1. การตรวจหาสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ โดยสามารถทำได้โดยการเจาะเลือดหรือการทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test)
2. การตรวจเซลล์ในจมูก
3. การทดสอบผลหลังการกระตุ้นโดยใส่สารกระตุ้นไปในจมูก (Nasal Challenge Test)

แนวทางการรักษา
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
2. การใช้ยาในการรักษาซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
• ยาต้านการอักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์แบบพ่นจมูก เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก 
• ยาต้านฤทธิ์ Leukotriene ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก 
• ยาต้านฤทธิ์ histamine ช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก และคันตา
3. การรักษาอื่น ๆ เช่น การล้างจมูก ทำให้โพรงจมูกโล่งขึ้น ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงอาจพิจารณาให้การรักษาโดยการให้วัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy) หรือการให้ยาต้าน IgE (anti-IgE) 

โรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน
1. เยื่อบุตาอักเสบชนิดแพ้
2. โรคหืด
3. ไซนัสอักเสบ
4. ภาวะต่อมอะดีนอยด์โต
5. หูชั้นกลางอักเสบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D

โรคจมูกอักเสบ คือโรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อในจมูกที่มีการบวม แดง และมีเมือกภายในโพรงจมูกมากกว่าปกติ โดยสาเหตุอาจเกิดจากภูมิแพ้หรือไม่ใช่ภูมิแพ้ก็เป็นได้ แต่สาเหตุของโรคจมูกอักเสบเรื้อรังที่พบมากที่สุดมักเกิดจากภูมิแพ้

อาการและอาการแสดง
1. จาม
2. น้ำมูกไหล
3. คันจมูก คันตา
4. คัดจมูก
โดยอาการจะเป็นมากขึ้นหลังได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองทางเดินหายใจต่าง ๆ

ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค
1. กรรมพันธุ์ 
ประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคได้มากขึ้น
2. สารก่อภูมิแพ้
อาจสัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสัตว์ หรือเกสรดอกหญ้า เป็นต้น 
3. ปัจจัยอื่น ๆ
• การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
• การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
• สารระคายเคืองและมลภาวะทางอากาศ 


การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
1. การตรวจหาสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ โดยสามารถทำได้โดยการเจาะเลือดหรือการทดสอบภูมิแพ้โดยวิธีสะกิดผิวหนัง (Skin Prick Test)
2. การตรวจเซลล์ในจมูก
3. การทดสอบผลหลังการกระตุ้นโดยใส่สารกระตุ้นไปในจมูก (Nasal Challenge Test)

แนวทางการรักษา
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
2. การใช้ยาในการรักษาซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
• ยาต้านการอักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์แบบพ่นจมูก เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก 
• ยาต้านฤทธิ์ Leukotriene ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก 
• ยาต้านฤทธิ์ histamine ช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก และคันตา
3. การรักษาอื่น ๆ เช่น การล้างจมูก ทำให้โพรงจมูกโล่งขึ้น ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงอาจพิจารณาให้การรักษาโดยการให้วัคซีนภูมิแพ้ (Immunotherapy) หรือการให้ยาต้าน IgE (anti-IgE) 

โรคร่วมหรือภาวะแทรกซ้อน
1. เยื่อบุตาอักเสบชนิดแพ้
2. โรคหืด
3. ไซนัสอักเสบ
4. ภาวะต่อมอะดีนอยด์โต
5. หูชั้นกลางอักเสบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง