ค่าผลตรวจสุขภาพ บ่งบอกความเสี่ยงโรค (Check Up Report)

การตรวจสุขภาพ ช่วยค้นหาโรคบางอย่าง นำไปสู่การรักษาและป้องกันโรคได้ โดยตรวจตามโปรแกรมที่เลือกตรวจตามความต้องการ ค่าผลตรวจสุขภาพ จะบ่งบอกความเสี่ยงโรคหรือแนวโน้มความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นอกจากการตรวจสุขภาพแล้วการสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะได้รีบพบแพทย์ หาสาเหตุของโรค และหาวิธีการรักษาต่อไป

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวและได้รับการรักษากับแพทย์ประจำอยู่แล้ว ผลการตรวจต่าง ๆ อาจมีการแปลผลที่ต่างออกไปจึงควรแจ้งข้อมูลแก่แพทย์ที่รักษาประจำเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

ค่าผลตรวจสุขภาพที่ควรรู้

อ้างอิงจากโปรแกรมการตรวจสุขภาพแบบพื้นฐานของ SiPH โดย นพ.นภดล อัสสพงษ์สุนทร อายุรแพทย์ประจำคลินิกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

1. ค่าความดันโลหิต

ค่าปกติ ในคนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ควรเกิน 140/90 mmHg

สำหรับการคัดกรองความดันโลหิตสูง ควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตประจำที่บ้าน เพื่อคอยเช็กค่าความดันเป็นประจำ เพราะค่าความดันโลหิตมีปัจจัยกระทบได้ง่าย เช่น ความเหนื่อยล้า ความตื่นเต้น และความเครียด หรือการพักผ่อนน้อย ดังนั้นถ้ามีเครื่องวัดความดันประจำที่บ้านควรที่จะวัดเป็นประจำ เช่น หลังตื่นนอน และก่อนเข้านอน

ถ้าวัดแล้วได้ค่าสูงเกิน 140/90 mmHg หลาย ๆ ครั้ง อาจจะมีความเสี่ยงความดันโลหิตสูง (เช็กเครื่องวัดความดันที่บ้าน โดยวัดเทียบกับเครื่องที่โรงพยาบาล ถ้าเครื่องที่บ้านวัดค่าได้ใกล้เคียงกับที่โรงพยาบาลถือว่าเชื่อถือได้) หากมีค่าความดันโลหิตสูง ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก โรคหัวใจ โรคไต ควรต้องปรึกษาแพทย์

2. ค่าน้ำตาลในเลือด (Fasting plasma glucose หรือ Fasting blood sugar)

ค่าปกติ ของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร ควรเท่ากับ 70-99 mg/dl

โดยทั่วไปทางการแพทย์ใช้การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร (Fasting plasma glucose หรือ Fasting blood sugar) โดยต้องงดน้ำ งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนตรวจเลือด (อาจจะจิบน้ำได้เล็กน้อย) เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นถ้าในภาวะปกติที่ไม่ได้มีการรักษาเบาหวานอยู่ ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารต่ำกว่า 99 mg/dl แสดงว่าไม่ใช่โรคเบาหวาน แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dl ก็ถือว่าเป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น หากระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารได้ 100-125 mg/dl ถือว่าผิดปกติ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน ควรต้องมีการตรวจติดตามต่อไป และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดเบาหวานในอนาคต

3. ค่าไขมันในเลือด (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL)

ควรงดอาหารและน้ำประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนทำการเจาะเลือด อาจจิบเฉพาะน้ำเปล่าได้เล็กน้อย โดยค่าไขมันในเลือดที่ตรวจมีดังต่อไปนี้

  • คอเลสเตอรอล (Cholesterol/Total cholesterol) เป็นระดับไขมันรวมในกระแสเลือด ค่าปกติในคนทั่วไปควรต่ำกว่า 200 mg/dl กรณีพบภาวะไขมันในเลือดสูงกว่า 200 mg/dl ถือว่าผิดปกติและเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองแตก
  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ค่าปกติในคนทั่วไปควร ต่ำกว่า 150 mg/dl หากตรวจพบไตรกลีเซอไรด์มีค่าสูงกว่า 150 mg/dl ถือว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ
  • ไขมันเอชดีแอล HDL (High-Density Lipoprotein cholesterol) เป็นไขมันดี มีหน้าที่จับเก็บไขมันที่ไม่ดีจากผนังหลอดเลือดไปทำลายที่ตับ ค่าปกติในคนทั่วไป เพศชายควรสูงกว่า 40 md/dl ในเพศหญิง ควรสูงกว่า 50 mg/dl ดังนั้นถ้าระดับ HDL สูงจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น
  • ไขมันแอลดีแอล LDL (Low-Density Lipoprotein cholesterol) เป็นไขมันตัวร้าย โดยทั่ว ๆ ไปค่าปกติควรต่ำกว่า 130 mg/dl แต่ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ผ่าตัด by pass หรือ balloon หัวใจ สูบบุหรี่ อาจต้องควบคุมให้ระดับต่ำกว่านี้ ทั้งนี้ให้ปรึกษาแพทย์ถึงระดับที่เหมาะสม เป็นราย ๆ ไป หากมีปริมาณมากจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบตันตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ และสมอง

4. ค่าการทำงานของตับ (ALT/SGPT, AST/SGOT)

การตรวจเลือดชนิดนี้ ช่วยบอกถึงการทำงานของตับได้ และไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนการเจาะเลือด

  • Alanine aminotransferase (ALT) / Serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งพบในตับเป็นส่วนใหญ่ ปกติในคนทั่วไป ค่าจะอยู่ที่ 0 - 55 U/L หากตรวจพบค่าผิดปกติ ให้สงสัยว่ามีการอักเสบของตับ
  • Aspartate aminotransferase (AST) หรือ Serum glutamic-oxaloacetic transaminase (SGOT) เอนไซม์ที่พบในตับและในอวัยวะอื่น ๆ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อ ปกติในคนทั่วไป ค่าจะอยู่ที่ 5-34 U/L อย่างไรก็ตามแพทย์มักตรวจคู่กับ SGPT เพื่อประเมินการทำงานของตับเป็นหลัก ดังนั้นถ้าค่าสูงกว่าปกติร่วมกับ SGPT ที่สูงด้วย ให้สงสัยว่ามีการอักเสบของตับ

5. ค่าการทำงานของไต (Creatinine, eGFR)

เป็นการวัดค่าของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งสามารถอนุมานถึงความสามารถในการทำงานของไตที่กรองของเสียในเลือดออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ถ้าค่าที่ได้สูงเกินเกณฑ์ปกติ (ในผู้หญิง ค่า Cr ไม่ควรเกิน 1.02, ในผู้ชาย ค่า Cr ไม่ควรเกิน 1.18) ให้สงสัยว่ามีการทำงานของไตที่ผิดปกติ

6. การตรวจปัสสาวะ

เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองในระบบทางเดินปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีการอักเสบติดเชื้อ มีนิ่วหรือความผิดปกติบางอย่าง เช่น ที่ไต กระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก

7. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC)

เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ค่านี้จะช่วยบอกได้ว่าระบบเลือดมีความผิดปกติหรือไม่

  • ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb) ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ค่านี้บอกถึงความสามารถของเม็ดเลือดแดงในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายค่าปกติในผู้ชายจะอยู่ที่ 13-18 g/dl และค่าปกติในผู้หญิงจะอยู่ที่ 12-16 g/dl หากค่าผิดปกติ อาจจะเป็นสัญญาณของโรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้น หรือภาวะซีดโลหิตจาง เป็นต้น
  • ฮีมาโตคริต (Hematocrit: Hct) เป็นค่าที่บอกถึงความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงอีกค่าหนึ่ง ค่าปกติในผู้ชายจะอยู่ที่ 39-52% และผู้หญิงจะอยู่ที่ 36-47% 
  • ปริมาณเม็ดเลือดขาว (White blood cell: WBC count) เป็นการตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด โดยเม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 4,000 - 10,000 ปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่สูงหรือต่ำอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสต่าง ๆ หรือโรคเลือดบางอย่าง นอกจากนี้การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาวยังมีการนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential WBC) ซึ่งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อในเลือดต่างกันไป เช่น เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล (Eosinophil) อยู่ที่ 0-8% หากค่าสูงกว่าค่าปกติจะบ่งบอกถึงร่างกายมีอาการแพ้ ผื่นคัน ลมพิษ หรือมีการติดเชื้อพยาธิหรือปรสิต
  • ปริมาณเกร็ดเลือด (Platelet count) เป็นค่าตรวจวัดปริมาณเกร็ดเลือดในร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้ไม่เกิดภาวะเลือดออกไม่หยุด โดยค่าปกติของเกร็ดเลือดคือ 140,000-450,000 หากมีค่าน้อยกว่าปกติจะทำให้เลือดออกแล้วหยุดยาก จ้ำเขียวขึ้นตามตัวง่าย หรือเลือดออกในอวัยวะภายในง่ายกว่าปกติ หรือหากมีค่ามากเกินไปก็จะเกิดการแข็งตัวของเลือดง่าย เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน ทั้งนี้ถ้าตรวจพบปริมาณเกร็ดเลือดผิดปกติไม่ว่าน้อยหรือมาก อาจนำพาไปสู่การวิเคราะห์หาโรคเลือดบางอย่างด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E

การตรวจสุขภาพ ช่วยค้นหาโรคบางอย่าง นำไปสู่การรักษาและป้องกันโรคได้ โดยตรวจตามโปรแกรมที่เลือกตรวจตามความต้องการ ค่าผลตรวจสุขภาพ จะบ่งบอกความเสี่ยงโรคหรือแนวโน้มความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น นอกจากการตรวจสุขภาพแล้วการสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะได้รีบพบแพทย์ หาสาเหตุของโรค และหาวิธีการรักษาต่อไป

สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวและได้รับการรักษากับแพทย์ประจำอยู่แล้ว ผลการตรวจต่าง ๆ อาจมีการแปลผลที่ต่างออกไปจึงควรแจ้งข้อมูลแก่แพทย์ที่รักษาประจำเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

ค่าผลตรวจสุขภาพที่ควรรู้

อ้างอิงจากโปรแกรมการตรวจสุขภาพแบบพื้นฐานของ SiPH โดย นพ.นภดล อัสสพงษ์สุนทร อายุรแพทย์ประจำคลินิกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

1. ค่าความดันโลหิต

ค่าปกติ ในคนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ควรเกิน 140/90 mmHg

สำหรับการคัดกรองความดันโลหิตสูง ควรมีเครื่องวัดความดันโลหิตประจำที่บ้าน เพื่อคอยเช็กค่าความดันเป็นประจำ เพราะค่าความดันโลหิตมีปัจจัยกระทบได้ง่าย เช่น ความเหนื่อยล้า ความตื่นเต้น และความเครียด หรือการพักผ่อนน้อย ดังนั้นถ้ามีเครื่องวัดความดันประจำที่บ้านควรที่จะวัดเป็นประจำ เช่น หลังตื่นนอน และก่อนเข้านอน

ถ้าวัดแล้วได้ค่าสูงเกิน 140/90 mmHg หลาย ๆ ครั้ง อาจจะมีความเสี่ยงความดันโลหิตสูง (เช็กเครื่องวัดความดันที่บ้าน โดยวัดเทียบกับเครื่องที่โรงพยาบาล ถ้าเครื่องที่บ้านวัดค่าได้ใกล้เคียงกับที่โรงพยาบาลถือว่าเชื่อถือได้) หากมีค่าความดันโลหิตสูง ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก โรคหัวใจ โรคไต ควรต้องปรึกษาแพทย์

2. ค่าน้ำตาลในเลือด (Fasting plasma glucose หรือ Fasting blood sugar)

ค่าปกติ ของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร ควรเท่ากับ 70-99 mg/dl

โดยทั่วไปทางการแพทย์ใช้การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร (Fasting plasma glucose หรือ Fasting blood sugar) โดยต้องงดน้ำ งดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนตรวจเลือด (อาจจะจิบน้ำได้เล็กน้อย) เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นถ้าในภาวะปกติที่ไม่ได้มีการรักษาเบาหวานอยู่ ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารต่ำกว่า 99 mg/dl แสดงว่าไม่ใช่โรคเบาหวาน แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dl ก็ถือว่าเป็นเบาหวานระยะเริ่มต้น หากระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารได้ 100-125 mg/dl ถือว่าผิดปกติ และมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน ควรต้องมีการตรวจติดตามต่อไป และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดเบาหวานในอนาคต

3. ค่าไขมันในเลือด (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL)

ควรงดอาหารและน้ำประมาณ 12 ชั่วโมงก่อนทำการเจาะเลือด อาจจิบเฉพาะน้ำเปล่าได้เล็กน้อย โดยค่าไขมันในเลือดที่ตรวจมีดังต่อไปนี้

  • คอเลสเตอรอล (Cholesterol/Total cholesterol) เป็นระดับไขมันรวมในกระแสเลือด ค่าปกติในคนทั่วไปควรต่ำกว่า 200 mg/dl กรณีพบภาวะไขมันในเลือดสูงกว่า 200 mg/dl ถือว่าผิดปกติและเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองแตก
  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ค่าปกติในคนทั่วไปควร ต่ำกว่า 150 mg/dl หากตรวจพบไตรกลีเซอไรด์มีค่าสูงกว่า 150 mg/dl ถือว่ามีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ
  • ไขมันเอชดีแอล HDL (High-Density Lipoprotein cholesterol) เป็นไขมันดี มีหน้าที่จับเก็บไขมันที่ไม่ดีจากผนังหลอดเลือดไปทำลายที่ตับ ค่าปกติในคนทั่วไป เพศชายควรสูงกว่า 40 md/dl ในเพศหญิง ควรสูงกว่า 50 mg/dl ดังนั้นถ้าระดับ HDL สูงจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น
  • ไขมันแอลดีแอล LDL (Low-Density Lipoprotein cholesterol) เป็นไขมันตัวร้าย โดยทั่ว ๆ ไปค่าปกติควรต่ำกว่า 130 mg/dl แต่ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ผ่าตัด by pass หรือ balloon หัวใจ สูบบุหรี่ อาจต้องควบคุมให้ระดับต่ำกว่านี้ ทั้งนี้ให้ปรึกษาแพทย์ถึงระดับที่เหมาะสม เป็นราย ๆ ไป หากมีปริมาณมากจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบตันตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ และสมอง

4. ค่าการทำงานของตับ (ALT/SGPT, AST/SGOT)

การตรวจเลือดชนิดนี้ ช่วยบอกถึงการทำงานของตับได้ และไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนการเจาะเลือด

  • Alanine aminotransferase (ALT) / Serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งพบในตับเป็นส่วนใหญ่ ปกติในคนทั่วไป ค่าจะอยู่ที่ 0 - 55 U/L หากตรวจพบค่าผิดปกติ ให้สงสัยว่ามีการอักเสบของตับ
  • Aspartate aminotransferase (AST) หรือ Serum glutamic-oxaloacetic transaminase (SGOT) เอนไซม์ที่พบในตับและในอวัยวะอื่น ๆ เช่น หัวใจ กล้ามเนื้อ ปกติในคนทั่วไป ค่าจะอยู่ที่ 5-34 U/L อย่างไรก็ตามแพทย์มักตรวจคู่กับ SGPT เพื่อประเมินการทำงานของตับเป็นหลัก ดังนั้นถ้าค่าสูงกว่าปกติร่วมกับ SGPT ที่สูงด้วย ให้สงสัยว่ามีการอักเสบของตับ

5. ค่าการทำงานของไต (Creatinine, eGFR)

เป็นการวัดค่าของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งสามารถอนุมานถึงความสามารถในการทำงานของไตที่กรองของเสียในเลือดออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ถ้าค่าที่ได้สูงเกินเกณฑ์ปกติ (ในผู้หญิง ค่า Cr ไม่ควรเกิน 1.02, ในผู้ชาย ค่า Cr ไม่ควรเกิน 1.18) ให้สงสัยว่ามีการทำงานของไตที่ผิดปกติ

6. การตรวจปัสสาวะ

เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองในระบบทางเดินปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีการอักเสบติดเชื้อ มีนิ่วหรือความผิดปกติบางอย่าง เช่น ที่ไต กระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก

7. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC)

เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ค่านี้จะช่วยบอกได้ว่าระบบเลือดมีความผิดปกติหรือไม่

  • ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb) ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ค่านี้บอกถึงความสามารถของเม็ดเลือดแดงในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายค่าปกติในผู้ชายจะอยู่ที่ 13-18 g/dl และค่าปกติในผู้หญิงจะอยู่ที่ 12-16 g/dl หากค่าผิดปกติ อาจจะเป็นสัญญาณของโรคเลือดบางชนิด เช่น ภาวะเลือดข้น หรือภาวะซีดโลหิตจาง เป็นต้น
  • ฮีมาโตคริต (Hematocrit: Hct) เป็นค่าที่บอกถึงความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงอีกค่าหนึ่ง ค่าปกติในผู้ชายจะอยู่ที่ 39-52% และผู้หญิงจะอยู่ที่ 36-47% 
  • ปริมาณเม็ดเลือดขาว (White blood cell: WBC count) เป็นการตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด โดยเม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 4,000 - 10,000 ปริมาณของเม็ดเลือดขาวที่สูงหรือต่ำอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสต่าง ๆ หรือโรคเลือดบางอย่าง นอกจากนี้การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาวยังมีการนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential WBC) ซึ่งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อในเลือดต่างกันไป เช่น เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล (Eosinophil) อยู่ที่ 0-8% หากค่าสูงกว่าค่าปกติจะบ่งบอกถึงร่างกายมีอาการแพ้ ผื่นคัน ลมพิษ หรือมีการติดเชื้อพยาธิหรือปรสิต
  • ปริมาณเกร็ดเลือด (Platelet count) เป็นค่าตรวจวัดปริมาณเกร็ดเลือดในร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้ไม่เกิดภาวะเลือดออกไม่หยุด โดยค่าปกติของเกร็ดเลือดคือ 140,000-450,000 หากมีค่าน้อยกว่าปกติจะทำให้เลือดออกแล้วหยุดยาก จ้ำเขียวขึ้นตามตัวง่าย หรือเลือดออกในอวัยวะภายในง่ายกว่าปกติ หรือหากมีค่ามากเกินไปก็จะเกิดการแข็งตัวของเลือดง่าย เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน ทั้งนี้ถ้าตรวจพบปริมาณเกร็ดเลือดผิดปกติไม่ว่าน้อยหรือมาก อาจนำพาไปสู่การวิเคราะห์หาโรคเลือดบางอย่างด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง