
ไข้เลือดออก อันตรายใกล้ตัวที่คุณต้องรู้
โรคไข้เลือดออก เกิดจากติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ไวรัสเดงกีมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DEN-1, DEN- 2, DEN-3 และ DEN-4 โดยมียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค ยุงลายมักเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำขัง พบมากในช่วงฤดูฝน อาการมีตั้งแต่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยไปถึงรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะไข้เลือดออกในเด็ก
ไข้เลือดออกในเด็ก มีโอกาสเป็นซ้ำได้หรือไม่?
ในแต่ละปีจะมีการระบาดของสายพันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป การติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์หนึ่งจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต ดังนั้นจึงสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกจากสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน โดยการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 มักมีอาการรุนแรงกว่าครั้งแรก
กลุ่มเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกรุนแรง
- เด็กทารก และผู้สูงอายุ
- ภาวะอ้วน
- หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่อยู่ระหว่างมีประจำเดือน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ธาลัสซีเมีย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคตับแข็ง โรคไตวาย โรคเบาหวาน โรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่รับประทานยา corticosteroid หรือ NSAID
อาการของโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก
- ไข้สูงลอยเฉียบพลัน 2 - 7 วัน ร่วมกับอาการปวดศีรษะ
- ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา
- ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง หรือท้องเสียโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
- อาจมีจุดเลือดออกบริเวณผิวหนัง
- หน้าแดง ตัวแดง
สัญญาณอันตรายที่ต้องรีบไปพบแพทย์
- ไข้ลงแล้วแต่อาการแย่ลง
- อ่อนเพลียมาก ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำดื่มได้
- มีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระหรือปัสสาวะเป็นสีแดง สีดำ หรือสีโค้ก
- อาเจียนมาก ปวดท้องมาก
- ชีพจรเบาเร็ว
- ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก ตัวลาย กระสับกระส่าย และริมฝีปากเขียวคล้ำ
- ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลยเป็นเวลา 4 - 6 ชั่วโมง
- มีอาการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว เช่น ซึมลง กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
การดูแลรักษาไข้เลือดออกในเด็ก
ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคไข้เลือดออก การรักษาโรคไข้เลือดออกเป็นการรักษาตามอาการ และการเฝ้าระวังติดตามอาการของโรคอย่างใกล้ชิด
- การลดไข้ ควรเช็ดตัวร่วมกับรับประทานยาลดไข้ (เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น) ห้ามรับประทานยาแอสไพรินหรือยาลดไข้ไอบูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกผิดปกติ
- ควรรับประทานอาหาร และน้ำดื่มอย่างเพียงพอ หากรับประทานอาหารได้น้อย แนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ นม น้ำผลไม้ เลือกรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีดำหรือแดง เช่น น้ำแดง น้ำแตงโม ช็อกโกแลต เป็นต้น เพราะหากมีอาการอาเจียนอาจทำให้สับสนว่ามีเลือดได้
- ควรติดตามอาการตามที่แพทย์นัดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในระยะวิกฤต คือช่วงที่ไข้ลดซึ่งมักตรงกับวันที่ 3 - 5 หลังจากเริ่มมีไข้ หากพบผู้ป่วยมีอาการ อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ไข้ลดลงอย่างรวดเร็วแต่อาการไม่ดีขึ้น เพลีย กระสับกระส่าย หน้ามืดจะเป็นลม มือเท้าเย็น ซีมลง ไม่ปัสสาวะนานกว่า 4-6 ชั่วโมง เลือดออกผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
การป้องกันไข้เลือดออกในเด็ก
- การป้องกันยุงกัด ได้แก่ ทายากันยุง นอนในมุ้ง ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
- การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้าน เช่น ปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขัง หมั่นเปลี่ยนน้ำในภาชนะทุกสัปดาห์ คว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ไม่ให้น้ำขังได้ ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงในอ่างบัว
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก
แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้เลือดกับใครบ้าง?
- ผู้ที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน
- สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 - 60 ปี
- ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
- สำหรับผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ให้ฉีดวัคซีนหลังจากเป็นไข้เลือดออกแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
ข้อมูลจาก : พญ.วรพร พุ่มเล็ก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E
โรคไข้เลือดออก เกิดจากติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ไวรัสเดงกีมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ DEN-1, DEN- 2, DEN-3 และ DEN-4 โดยมียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค ยุงลายมักเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำขัง พบมากในช่วงฤดูฝน อาการมีตั้งแต่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยไปถึงรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะไข้เลือดออกในเด็ก
ไข้เลือดออกในเด็ก มีโอกาสเป็นซ้ำได้หรือไม่?
ในแต่ละปีจะมีการระบาดของสายพันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป การติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์หนึ่งจะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต ดังนั้นจึงสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีกจากสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน โดยการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 มักมีอาการรุนแรงกว่าครั้งแรก
กลุ่มเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกรุนแรง
- เด็กทารก และผู้สูงอายุ
- ภาวะอ้วน
- หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่อยู่ระหว่างมีประจำเดือน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ธาลัสซีเมีย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคตับแข็ง โรคไตวาย โรคเบาหวาน โรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่รับประทานยา corticosteroid หรือ NSAID
อาการของโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก
- ไข้สูงลอยเฉียบพลัน 2 - 7 วัน ร่วมกับอาการปวดศีรษะ
- ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา
- ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดท้อง หรือท้องเสียโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
- อาจมีจุดเลือดออกบริเวณผิวหนัง
- หน้าแดง ตัวแดง
สัญญาณอันตรายที่ต้องรีบไปพบแพทย์
- ไข้ลงแล้วแต่อาการแย่ลง
- อ่อนเพลียมาก ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำดื่มได้
- มีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระหรือปัสสาวะเป็นสีแดง สีดำ หรือสีโค้ก
- อาเจียนมาก ปวดท้องมาก
- ชีพจรเบาเร็ว
- ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก ตัวลาย กระสับกระส่าย และริมฝีปากเขียวคล้ำ
- ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลยเป็นเวลา 4 - 6 ชั่วโมง
- มีอาการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตัว เช่น ซึมลง กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
การดูแลรักษาไข้เลือดออกในเด็ก
ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคไข้เลือดออก การรักษาโรคไข้เลือดออกเป็นการรักษาตามอาการ และการเฝ้าระวังติดตามอาการของโรคอย่างใกล้ชิด
- การลดไข้ ควรเช็ดตัวร่วมกับรับประทานยาลดไข้ (เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น) ห้ามรับประทานยาแอสไพรินหรือยาลดไข้ไอบูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดออกผิดปกติ
- ควรรับประทานอาหาร และน้ำดื่มอย่างเพียงพอ หากรับประทานอาหารได้น้อย แนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่ นม น้ำผลไม้ เลือกรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีดำหรือแดง เช่น น้ำแดง น้ำแตงโม ช็อกโกแลต เป็นต้น เพราะหากมีอาการอาเจียนอาจทำให้สับสนว่ามีเลือดได้
- ควรติดตามอาการตามที่แพทย์นัดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในระยะวิกฤต คือช่วงที่ไข้ลดซึ่งมักตรงกับวันที่ 3 - 5 หลังจากเริ่มมีไข้ หากพบผู้ป่วยมีอาการ อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ไข้ลดลงอย่างรวดเร็วแต่อาการไม่ดีขึ้น เพลีย กระสับกระส่าย หน้ามืดจะเป็นลม มือเท้าเย็น ซีมลง ไม่ปัสสาวะนานกว่า 4-6 ชั่วโมง เลือดออกผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
การป้องกันไข้เลือดออกในเด็ก
- การป้องกันยุงกัด ได้แก่ ทายากันยุง นอนในมุ้ง ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
- การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้าน เช่น ปิดฝาภาชนะที่มีน้ำขัง หมั่นเปลี่ยนน้ำในภาชนะทุกสัปดาห์ คว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ไม่ให้น้ำขังได้ ปล่อยปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงในอ่างบัว
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก
แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้เลือดกับใครบ้าง?
- ผู้ที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน
- สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 - 60 ปี
- ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 3 เดือน
- สำหรับผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ให้ฉีดวัคซีนหลังจากเป็นไข้เลือดออกแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
ข้อมูลจาก : พญ.วรพร พุ่มเล็ก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E